×

วัดหลวง แพร่

วัดหลวง แพร่
แพร่
วัดหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนคำลือ ซอย 1 ตำบลในเวียง เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่ วัดนี้ได้รับการบูรณะซ่อมแซมหลายยุคหลายสมัย

    สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่

    วิหารหลวงพลนคร วิหารเก่าแก่สร้างพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือพระเจ้าแสนหลวง สร้างโดยเจ้าเมืององค์หนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2057
    พระธาตุหลวงไชยช้างค้ำ พระเจดีย์ศิลปะเชียงแสน ประดิษฐานพระธาตุที่นำมาจากเมืองหงสาวดี
    พิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ เป็นสถานที่รวบรวมพระพุทธรูปเก่าแก่หลายองค์ที่มีอายุเกือบ 500 ปี และโบราณวัตถุต่าง ๆ ของเมืองแพร่ นอกจากนี้ยังมี คุ้มพระลอ ซึ่งเป็นการจัดแสดงตัวอย่างบ้านแบบล้านนาโบราณ
    หอวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ สร้างด้วยไม้สักทอง อายุ 200 ปี เป็นที่เก็บรวบรวมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านมากมาย

ประวัติความเป็นมาของวัดหลวง

พ.ศ. 1371 พ่อขุนหลวงพล พระราชนัดดาแห่งมหากษัตริย์ อาณาจักรน่านเจ้า ได้นำคนไทยส่วนหนึ่งอพยพลงสู่ทางใต้ ขบวนอพยพเดินทางเกือบแรมปี ลุวันขึ้น 9 ค่ำ เดือนสาม ปียี่ ขบวนอพยพก็เดินทางถึงที่ราบบนฝั่งแม่น้ำยม อาณาเขตกว้างใหญ่มีภูเขาล้อมรอบ มีหนองน้ำลำห้วยอุดมสมบูรณ์ พ่อขุนหลวงจึงป่าวประกาศให้ทุกครัวเรือนแยกย้ายกันจับจองที่ดิน เพื่อสร้างบ้านแปลงเมืองรวบรวมอาณาเขตเข้าเป็นเมืองๆ หนึ่ง ขนานนามตามชื่อของท่านว่า เมืองพลนคร พ่อขุนหลวงพลเป็นผู้มีปัญญาและคุณธรรมได้แต่งตั้งนายบ้านนายแขวง สำหรับควบคุมความทุกข์สุขของชาวบ้านชาวแขวง แขวงสำคัญในขณะนั้นมี แขวงเวียงชัย แขวงศาลาแก้ว แขวงเมืองมอ แขวงวังหงส์ แขวงวังหนอง แขวงดงเหล่า แขวงเวียงตอง แขวงดงถิ่น

พ.ศ. 1373 หลังจากพ่อขุนหลวงพลได้รวบรวมแขวงต่างๆ สถาปนาขึ้นเป็นเมืองพลได้ปีกว่า จึงป่าวประกาศให้ชาวเมืองพลทุกเขตแขวง มาร่วมกันสร้างวัดขึ้นเป็นบริเวณช่วงบ้านหลวงด้านตะวันตกคุ้มพ่อขุน ในวันเก้าค่ำ เดือนเจ็ด ปีเม้า ลุวันขึ้นสิบสี่ค่ำ เดือนเก้า ชาวเมืองพลก็สร้างวัดเสร็จห่างจากหลักเมืองเก้าเส้น มีกำแพงล้อมรอบพระวิหารกุฏิและหอกลอง พระวิหารสง่างามยิ่งนักเป็นฝีมือช่างเมืองแสนไชยบุรีและช่างเวียงพางคำ มีพระประธานเมืององค์ใหญ่หน้าตักกว้าง 7 ศอก นามว่าพระเจ้าแสนหลวง พ่อขุนให้เรียกชื่อวัดตามนามของท่านว่า วัดหลวง และส่งพ่อหลวงคำฟู นายแขวงบ้านหลวงเป็นทูตไปนมัสการพระสงฆ์มาจากเมืองหลวงพระบาง เพื่อเป็นเจ้าอาวาสสอนพระธรรม พ่อขุนหลวงพลจัดงานฉลองสมโภชวัดหลวง 5 วัน 5 คืน มีการละเล่น จ๊อย ค่าว ซอ ตั้งโรงเลี้ยง โรงทาน 3 แจ่งเวียง ศิลปะวัฒนธรรมของขอมมาใช้ในการปกครอง ได้แต่งตั้งตำแหน่งขึ้นในเมืองพลนี้

ท้าวพหุสงห์ให้ขุนพระพิษณุวังไชย ทำการบูรณะวัดหลวง ให้หุ้มทองคำพระเจ้าแสนหลวงทั้งองค์ โดยนำช่างหลวงมาจากเมืองเชียงแสนไชยบุรีและเวียงพางคำ ได้ขยายกำแพงวัดออกไปด้านละ 2 วา 2 ศอก ถมดินก่อดินเผาให้สูงกว่างเดิมกันน้ำขุนยมท่วมทะลัก แล้วจัดงานสมโภช 5 วัน 5 คืน ตั้งโรงเลี้ยง โรงทาน 4 แจ่งเวียง และต่อมาให้สร้างวัดขึ้นทางทิศเหนืออีกแห่งหนึ่งมีนามว่า วัดหัวข่วงสิงห์ชัย หรือวัดหัวข่วงในปัจจุบันนี้

พ.ศ. 1613 พญาผาวงศ์อินทร์ครองเมืองพล ขอมยกกองทัพเข้ารุกรานอาณาจักรโยนกเชียงแสนและเมืองพล เจ้าเมืองพลต่อสู้ป้องกันอย่างเข้มแข็งแต่สูงทัพใหญ่ของขอมไม่ได้ จึงเสียเมือง ขอมเข้าทำลายเมืองพลเผาวัดหลวงลอกเอาทองที่หุ้มองค์พระเจ้าแสนหลวงไป วัดหลวงจึงกลายเป็นวัดร้างเพราะผู้คนอพยพหนีจากเมือง ในยุคนี้ขอมเปลี่ยนชื่อเมืองพลเป็นเมืองโกศัย ซึ่งหมายถึงเมืองที่มีผ้าแพรเนื้อดี

พ.ศ. 1719 พม่ายกกองทัพเข้ารุกรานอาณาจักรโยนกเชียงแสนตลอดถึงเมืองแพล (ขอมหมดอำนาจพม่าเข้ายึดครองเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองแพล) พญาพีระไชยวงศ์เจ้าเมืองแพลสู้ป้องกันอยู่สามวันจึงยอมอ่อนน้อมพม่าให้มังก๋าระปกครองเมืองแพลสร้างกำลังทหาร มังก๋าระปกครองโดยธรรม ให้บูรณะวัดวาอารามและสร้างเสาหงส์ขึ้นเป็นพุทธบูชา และเป็นสัญลักษณ์ของกรุงหงสาวดี เจ้าเมืองทั้งสองและชาวเมืองแพลได้ร่วมกันสร้างพระธาตุหลวงไชยช้างค้ำขึ้นที่วัดหลวง เพื่อบรรจุพระธาตุที่นำมาจากกรุงหงสาวดี พร้อมกับสร้างพระวิหารหลังใหม่และหุ้มทองคำพระเจ้าแสนหลวงพระประธานเมืองทั้งองค์ แล้วขนานนามวัดว่า วัดหลวงไชยวงศ์ จัดงานฉลองสมโภช 5 วัน 5 คืน

พ.ศ. 1879 เมืองแพลตกเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยสมเด็จพระธรรมราชาลิไทเสด็จมาสร้างและบูรณะศาสนสถานต่างๆ ในลานนาไทยในเมืองพลทรงนำช่างหลวงสร้างพระธาตุช่อแฮและบูรณะวัดต่างๆ ให้นักบวชทั้งหลายได้อาศัยปฏิบัติธรรม มีวัดหลวงไชยวงศ์ วัดพระบาทแสงฟ้าวัดพระนอนจุฑามาศ โดยเฉพาะวัดหลวงไชยวงศ์ทรงบูรณะพระธาตุหลวงไชยช้างค้ำแล้วโปรดพระราชทานนามวัดว่าวัดหลวงสมเด็จ

พ.ศ. 2053 พระสร้อยสุริยะเจ้าเมืองแพร่ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ออกบวชจำพรรษาอยู่ ณ วัดหลวงสมเด็จ ได้นำชาวเมืองบูรณะวัดหลวงสมเด็จ เปลี่ยนช่อฟ้าใบระกาหลังคาพระวิหารสร้างหอพระธรรมและหอกลอง จัดงานฉลองสมโภช 5 วัน 5 คืน พระเมืองแก้ว กษัตริย์เมืองเชียงใหม่เสด็จมาร่วมนมัสการครั้งนี้ด้วย

พ.ศ. 2101 พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่า ยกกองทัพเข้าตีเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย พม่าเข้าตีเมืองแพร่และทำลายวัดวาอาราม วัดหลวงสมเด็จถูกพม่าเผาลอกเอาทองหุ้มพระประธานเมืองไป

พ.ศ. 2325 พระเจ้าตากสินมหาราชรวมกับพญาจำบ้าน พญากาวีละ เจ้าเมืองลำพูน เจ้าเมืองแพร่ ทำการปราบปรามทัพพม่าที่ยึดครองอาณาจักรลานนาไทยไปหมดสิ้น เมืองแพร่จึงขึ้นต่อกรุงธนบุรี วัดกลวงเสมเด็จจึงได้รับการบูรณะในสมัยพญามังชัย (พระยาศรีสุริยะวงศ์์) เจ้าผู้ครองเมืองแพร่

พ.ศ. 2369 เจ้าเทพวงศ์หรือจ้าหลวงลิ้นทอง โอรสของเจ้าฟ้าชายสามแห่งนครเชียงตุง ซึ่งเจ้ากาวีละไปรับตัวมาไว้ที่นครลำปาง ภายหลังได้ส่งมาปกครองเมืองแพร่ ได้ทำการอุปสมบทราชบุตร คือ เจ้าอินต๊ะวิชัย (ต่อมาได้เป็นเจ้าหลวงเมืองแพร่) จำพรรษา ณ วัดหลวงสมเด็จ เจ้าหลวงเทพวงศ์และชาวเมืองได้ทำการบูรณะพระวิหาร และลงรักปิดทอง พระเจ้าแสนหลวง อันเป็นพระประธานเมือง โดยนำช่างหลวงมาจากเมืองหลวงพระบาง วัดหลวงสมเด็จจึงเป็นอารามที่มีศิลปะงดงามในยุคนั้น

พ.ศ. 2415 เจ้าพิมพิสารหรือเจ้าหลวงขาเค เจ้าแมืองแพร่ ได้ทำการบูรณะวัดหลวงสมเด็จ บูรณะเสร็จให้จัดงานฉลองสมโภช 3 วัน 3 คืน

วัดหลวง ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ จากเจ้าผู้ครองนครแพร่ ติดต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย จนถึงปี พ.ศ. 2510 - 2520 วัดหลวงตกอยู่ในสภาพทรุดโทรมเพราะเจ้าอาวาสชราภาพและอาพาธ หลังจากสิ้นเจ้าอาวาสแล้ว วัดหลวงไม่มีเจ้าอาวาสปกครองดูแลถึง 3 ปี ในปี พ.ศ. 2521 พระอธิการธนัติ วิจิตโต (พระครูวิจิตธรรมาภรณ์) อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวง (เจ้าอาวาสวัดพระธาตุถิ่นแถนหลวงรูปปัจจุบัน) ได้เชิญชวนศรัทธาญาติโยมทั้งภาคราชการและเอกชนดำเนินการฟื้นฟูบูรณะวัดหลวงให้กลับคืนสู่สภาพที่ดีขึ้นอีกครั้งหนึ่งเช่น มีการสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น โบราณวัตถุที่น่าสนใจ เช่น กลุ่มพระพุทธรูปจารึกลายลือไทยอายุ 500 ปี ศิลาจารึกเจ้าผู้ครองนคร คัมภีร์ศาสนา วรรณคดี กฏหมาย สมุนไพรโบราณ ตลอดถึงเครื่องมือและการโหลดมนุษย์สมัยหิน

นอกจากนี้ยังมีหอวัฒนธรมเมืองแพร่ ซึ่งภายในอาคารจะเป็นที่รวมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุหลายอย่าง เช่น หีบสมบัติโบราณ โลงไม้แกะสลัก สิ่งที่น่าสนใจของวัดหลวงอีกอย่างหนึ่งที่วัดอื่นไม่มีคือ ซุ้มประตูโขง มีลักษณะคล้ายซุ้มเจดีย์ แต่เดิมเป็นทางเข้าออกของวัด ปัจจุบันก่ออิฐถือปูนปิดทางเข้าออกแล้ว

นับตั้งแต่สร้างวัดหลวง จนถึง พ.ศ. 2556 วัดหลวงมีเจ้าอาวาสปกครองทั้งหมด 11 รูป
ศิลาจารึกวัดหลวง

จุลศักราช 35 ตัว ปีเล้า เดือนแปดเป็ง เม็งวันสอง ปฐมะมหาศรัทธาทั้งหลายทั้งสองคณะสองคณา ภายในหมายมีมหาสาธุครูหลวงเจ้าเทพวังโสเป็นเก๊า และสาธุเจ้ากาวีละ และตุ๊หลวงอุปละ และธรรมชัย และตุ๊หลวงนันไจย และตุ๊หลวงอุปนันต๊ะรองเจ้าครูบาปินตา และตุ๊พระในวัดหลวงสมเด็จทุกต๋นทุกองค์ คณะภายนอกหมายมี องค์สมเด็จมหาราชหลวงเป็นเก๊าพร้อมด้วยราชเทวีชื่อแก้วไหลมา และองค์เป็นเจ้ารามบุตรเป็นเก๊าพร้อมภริยาและเจ้าชัยราชาและภริยาลูกเต๊าทุกคน และเจ้าพญา.... พร้อมกับภริยาแม่เจ้าแก้ววัณณา และแม่เจ้าจอมแก้วเป็นเก๊าพร้อมลูกเต๊าทุกคน เจ้าเสาร์และแสนเตปสมศักดิ์เป็นช่างตัดไม้ พร้อมกับครูบาเจ้าและรสธรรม ไว้ก้ำจูพระวรพุทธศาสนาจนจ่ายตานเสี้ยง 399 แถบแล

เมฆ เป็นชื่อเรียกกำแพงเดินที่ล้อมตัวเวียงแพร่ กำแพงเมืองบรรพบุรุษ สร้างขึ้นเพื่อป้องกันข้าศึกและกันน้ำยาล้นท่วม กำแพงเมืองมีลักษณะเป็นวงรีจากเหนือถึงใต้ มีรัศมีกว้างประมาณ 1 กิโลเมตร ปัจจุบันมีถนนรอบเวียงเป็นเส้นวงกลม กำแพงเมืองเป็นเนินดินสูงประมาณ 6 เมตร กว้างประมาณ 7 เมตร แต่เดิมมีกำแพงอิฐอยู่ชั้นบนกำแพงเมืองมีประตูเมืองอยู่ 4 ทิศ

หรือน้ำคือ เป็นชื่อเรียกคูเมืองที่ล้อมรอบนอกกำแพงเมืองเกิดจากการขุดดินขึ้นถมเป็นเนินกำแพงเมือง คูมีไว้สำหรับระบายน้ำ

สะดือเมือง เป็นชื่อเรียกหลักเมือง แต่เดิมไม่ทราบว่าสร้างไว้ ณ บริเวณใด ตามประวัติการสร้างวัดหลวงกล่าวว่าอยู่ห่างหลักเมืองราว 9 เส้น ปัจจุบันทางการได้ถือเอาจุดกลางเวียงบริเวณด้านใต้โรงเรียนนารีรัตน์เป็นที่ตั้ง โดยถือเอาแผ่นหินจารึก กว่างถึงการสร้างวัดร้างแห่งหนึ่งเป็นหลักเมือง
โทร. 054-521710

พิกัด GPS วัดหลวง แพร่:
18.145008,100.137064
กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
0/0 จาก 0 รีวิว
ผู้ชม 1990 ครั้ง
วัดหลวง แพร่
วัดหลวง แพร่
วัดหลวง แพร่
วัดหลวง แพร่
วัดหลวง แพร่
วัดหลวง แพร่
วัดหลวง แพร่
วัดหลวง แพร่
วัดหลวง แพร่
วัดหลวง แพร่
วัดหลวง แพร่
วัดหลวง แพร่

แผนที่ วัดหลวง แพร่คลิกที่นี่

×

วิธีใช้งาน touronthai mini

  ดูข้อมูลของรูปภาพกดที่รูปภาพนั้น

  ใต้รูปภาพจะมีปุ่มอยู่ 6 ปุ่ม
  • ปุ่มแรก คือ ปุ่มวิธีใช้ที่คุณเพิ่งกด
  • ปุ่มที่ 2 คือ ปุ่มแสดงข้อมูลของสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 3 คือ เส้นทางไปยังสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 4 คือ ร้านอาหารที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 5 คือ ที่เที่ยวที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 6 คือ โรงแรมที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
ขอบคุณที่เข้ามาชม touronthai mini หวังว่าเว็บของเราจะมีประโยชน์กับคุณ
insert_emoticon

Log in

สอบถามการใช้งาน/แจ้งปัญหาการใช้งาน
@touronthai

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดหลวง แพร่

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

10 ที่เที่ยวใกล้ วัดหลวง แพร่

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

ร้านอาหารใกล้ วัดหลวง แพร่

*อยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล*
ร่วมส่งร้านโปรดของคุณให้ทุกคนรู้จักคลิก ..

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Access denied for user ''@'localhost' (using password: NO)