ผู้เขียน หัวข้อ: “อีสวอเตอร์” ทำประปาเกาะล้านไม่รอด  (อ่าน 2988 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Tommy

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,577
  • คะแนน: +3/-1
  • รักเมืองไทย เที่ยวเมืองไทย
    • ทัวร์ออนไทยดอทคอม
“อีสวอเตอร์” ทำประปาเกาะล้านไม่รอด
« เมื่อ: มิถุนายน 03, 2011, 10:40:19 AM »
    “อีสวอเตอร์” ทำประปาเกาะล้านไม่รอด เสนอเรื่องถ่ายโอนให้ผู้รับสัมปทานรายใหม่ ขณะที่สภาเมืองพัทยายังไม่ผ่านความเห็นชอบเพราะถือเป็นเรื่องสำคัญ จี้แผนการทำงานผู้รับสัมปทานที่ต้องนำมาเสนอประกอบการตัดสินใจใหม่ หวั่นหากไม่รอบคอบประชาชนอาจไม่ได้รับประโยชน์
    นายวุฒิศักดิ์ เริ่มกิจการ รองนายกเมืองพัทยา กล่าวในที่ประชุมสภาเมืองพัทยาตามที่เมืองพัทยาได้ลงนามร่วมกับ บ.จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรืออีสวอเตอร์ เพื่อให้ดำเนินกิจการประปาเกาะล้าน ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2547 ในสัญญาดำเนินงาน 15 ปี เพื่อให้ทางบริษัททำการลงทุนในการกลั่นน้ำทะเลเป็นน้ำจืด ก่อนจ่ายน้ำส่งต่อไปยังบ้านเรือนประชาชนบนพื้นที่เกาะล้าน หมู่ 7 ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรีนั้น ปรากฏว่าปัจจุบันทางบริษัทได้ทำเรื่องขอเสนอโอนกิจการประปาดังกล่าวให้กับ บ.ไนเจล แลนด์ แอนด์ พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด เป็นผู้ดำเนินกิจการแทน จึงได้แจ้งเรื่องมายังเมืองพัทยาเพื่อขออนุมัติตามข้อเสนอดังกล่าว
    กรณีนี้นายอำนาจ เที่ยงธรรม สมาชิกสภาเมืองพัทยา กล่าวว่าปัญหาน้ำถือว่าเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประชาชนบนพื้นที่เกาะล้าน เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ขาดแคลนมายาวนาน ในอดีตนั้นมีการสั่งซื้อน้ำจากฝั่งในอัตรา 150 บาท/ลบ.ม. เมืองพัทยา จึงร่วมกับอีสวอเตอร์ เพื่อดำเนินกิจการประปาขึ้น โดยการนำน้ำทะเลมากลั่นเป็นน้ำจืดก่อนส่งตามท่อจ่ายให้กับประชาชนในราคา 65-70 บาท/ลบ.ม. แต่กลับพบว่าผ่านมาเพียง 7 ปี บริษัทกลับมีปัญหา และส่งต่อถ่ายโอนภารกิจให้กับผู้รับสัมปทานรายใหม่ ซึ่งแม้จะมีการดำเนินการต่อแต่เมืองพัทยาเองก็ต้องคุมกรอบการทำงานอย่างเคร่งครัดใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1.ต้องมีการปรับปรุงพัฒนาเครื่องผลิตเพื่อให้เพียงต่อความต้องการใช้น้ำ 2.ต้องมีการควบคุมราคาไม่เกิน 70 บาท/ลบ.ม. และ 3.น้ำที่ผลิตต้องมีคุณภาพไม่กระด้างหรือมีความเค็มเจือปนจนเกินไป
    ขณะที่นายอัมรินทร์ บริบูรณ์นาคม สมาชิกสภาเมืองพัทยา กล่าวเสริมว่าสำหรับประปาถือเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นโครงการนี้จึงต้องรอบคอบและดูว่าการถ่ายโอนเกิดประโยชน์กับประชาชนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม สำหรับการเสนอเรื่องของเอกชนนั้นพบว่าขาดเอกสารประกอบการตัดสินใจมากมาย ทั้งแผนการผลิต การควบคุมคุณภาพน้ำ ราคา เป้าหมายการผลิต การขยายพื้นที่โครงการหรือ TOR ในด้านต่างๆ ดังนั้นจึงเห็นควรให้สภารับเพียงหลักการเท่านั้น จากนั้นคงจะต้องเชิญตัวแทนบริษัทมาชี้แจงแผนการบริหารจัดการประกอบการตัดสินใจอีกครั้ง
    ซึ่งกรณีดังกล่าวมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของสมาชิกสภาเมืองพัทยา และจะได้เรียกผู้เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจงอีกครั้ง ก่อนมีมติเห็นชอบและสนับสนุนต่อไป

สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์
เที่ยวเมืองไทยกระจายรายได้สู่ชุมชน