ผู้เขียน หัวข้อ: ตามรอยพ่อหลวง (ท่าตอน-อ่างขาง)  (อ่าน 14758 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Tamroyporluang

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 15
  • คะแนน: +0/-0
ตามรอยพ่อหลวง (ท่าตอน-อ่างขาง)
« เมื่อ: มีนาคม 26, 2011, 02:39:14 PM »
 
  สวัสดีค่ะเพื่อนๆชาว Tour on Thai ค่ะ
    ก่อนอื่นต้องขอแนะนำตัวก่อนนะคะ
 
ชื่อ พัชสนันท์  จีนะนัทธ์ ค่ะ หรือ เรียกสั้นๆว่า พัช ก็ได้นะคะ
กำลังศึกษาอยู่ ชั้นปีที่ 1 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ม.ธรรมศาสตร์ ค่ะ
และความภาคภูมิใจล่าสุด คือ เป็น
1 ใน 5 ผู้เข้ารอบสุดท้ายการประกวด
'ทีมประชาสัมพันธ์พิเศษโครงการหลวง' ค่ะ
 
เพื่อนๆหลายคนอาจจะสงสัยว่าคืออะไร
การประกวดครั้งนี้ คือ การประกวดเพื่อค้นหาทีมประชาสัมพันธ์พิเศษเพื่อเผยแพร่และแบ่งปันประสบการณ์
จากการไปเที่ยวโครงการหลวงมาค่ะ
รับรองว่า ถ้าเพื่อนๆได้อ่านเรื่องราวจากบทความและรูปถ่ายที่พัชได้มีโอกาสไปสัมผัสด้วยตัวเองมาแล้ว
คงอยากไปกันอย่างแน่นอน เพราะธรรมชาติที่นั่นสวยงามมาก และมีสิ่งมหัศจรรย์ที่พวกเราไม่เคยรู้มาก่อนด้วย
 
แต่ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ถ้าเพื่อนๆไปเที่ยวกับพัชต้องเตรียมพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจของตัวเองให้เป็นอย่างดีค่ะ
เพราะสำหรับพัช การไปเที่ยวโครงการหลวงจะต้อง
เปิดประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย
และที่สำคัญต้องเปิดประสาทสัมผัสทางใจ เพื่อเปิดรับสิ่งใหม่ๆด้วยค่ะ
เพราะการไปเที่ยวโครงการหลวงครั้งนี้เพื่อนๆจะได้ใช้ประสาทสัมผัสครบอย่างแน่นอน
 
ถ้าพร้อมแล้ว อย่ารอช้าค่ะ...ยินดีต้องรับเข้าสู่

โครงการหลวง อัศจรรย์ความสุขสุดขอบฟ้า
 ;)


ออฟไลน์ Tamroyporluang

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 15
  • คะแนน: +0/-0
ล่องแม่น้ำกก...เรียนรู้วิถีชีวิตชาวไทลื้อ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 26, 2011, 02:45:03 PM »
สวัสดีเจ้า...
                เมื่อเดินทางมาถึงเมืองเชียงใหม่แล้ว กิจกรรมแรกในการ ‘ตามรอยพ่อหลวง’  ณ จังหวัดเชียงใหม่นี้ คือ การเดินทางไปศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนชาวไทลื้อ พวกเขาจะอาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกก  เป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทยโดยมีต้นกำเนิดมาจากภูเขา ตอนเหนือของเมืองกก จังหวัดเชียงตุงภายในอาณาเขตของรัฐฉานในพม่าไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่ช่องแม่ น้ำกก อ.แม่อาย ไหลมาเรื่อยๆจนผ่านตัวอ. เมือง เชียงราย หลังจากนั้นก็ไหลลงแม่น้ำโขงที่บริเวณสบรวก อ.เชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีความยาว 130 กิโลเมตร 
                การเดินทางไปยังจุดหมายนั้นจะให้เดินทางด้วยรถก็คงจะซึมซับบรรยากาศได้ไม่ เต็มที่ และพาหนะที่จะนำเราไป ก็คือ เรือหางยาว เราไปขึ้นเรือกันที่ท่าเรือสาธารณะบ้านท่าตอน ตลอดสองฝั่งแม่น้ำกกนั้น เต็มไปด้วยทัศนียภาพของ ธรรมชาติ บ้างก็เป็นพืชผลของชาวไทลื้อ  บ้างก็เป็นบ้านเรือนของพวกเขา  โดยมีฉากหลังเป็นภูเขาขึ้นสลับซับซ้อน ระหว่างการเดินทางนั้นก็มีเด็กๆกระโดดเล่นน้ำกันอย่างสนุกสนานเพื่อคลายร้อน และก็มีพวกชาวบ้านต่างพากันช้อนหินที่อยู่ใต้น้ำขึ้นมา สำหรับการเดินทางด้วยเรือหางยาวนี้ค่อนข้างจะตื่นเต้นเสียหน่อย เนื่องจากว่าลักษณะเส้นทางค่อนข้างคดเคี้ยว มีโขดหินขึ้นอยู่ กลางแม่น้ำเป็นจำนวนมาก และกระแสน้ำค่อนข้างเชี่ยว  จึงทำให้บางครั้งก็อดที่จะร้องตกใจด้วยความตื่นเต้นกลัวว่าเรือจะล่มไม่ได้  แต่ก็นับว่าเป็นการเดินทางที่สนุกสนานมาก  เมื่อเดินทางมาได้สักพักหนึ่งก็เห็น วัดใหม่ อ.หมอกจ๋าม เป็นวัดประจำของชุมชนไทใหญ่ มีความสวยงามเป็นอย่างมากตามแบบศิลปะของไทใหญ่ เมื่อผ่านวัดใหม่มาแล้วก็ถึงท่าเรือบ้านวังไผ่ ชุมชนไทลื้อจุดหมายปลายทาง ด้วยบรรยากาศอันร่มรื่น มีต้นไม้ต้นใหญ่คอยให้ร่มเงาอยู่ ชุมชนชาวไทลื้อเป็นหมู่บ้านเล็กๆอยู่กันแบบครอบครัว เมื่อขึ้นจากเรือมาก็มีน้องๆชาวไทลื้อแต่งกายตามประเพณีออกมาต้อนรับ  พร้อมกับเสียงดนตรีพื้นเมืองบรรเลงต้อนรับ
                การมาเยือนชุมชนชาวไทลื้อ นอกจากจะเดินทางมาเรียนรู้วิถีชีวิตของพวกเขาแล้ว พวกเรายังมีโอกาสได้รับประทานอาหารพื้นเมืองที่นี่ด้วย  ได้แก่  น้ำพริกคั่วทราย  ยำบุก  ไก่อุ๊บสิบสองปันนา ปลาอุ๊บ และผักจอ  ซึ่ง ชาวไทลื้อจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก  ระหว่างรับประทานอาหารไปด้วยก็ฟังเสียงบรรเลงดนตรีอันไพเราะไปด้วย  เมื่อฉันรับประทานอาหารจนอิ่มแล้ว ด้วยความอยากลองจึงขอคุณลุง ซึ่งพักการบรรเลงดนตรีสักครู่ไปลองเล่นดูบ้าง คุณลุงบอกว่าเครื่องดนตรีที่บรรเลงนั้น เรียกว่า ‘กอระสับ ซึง กลอง’ มีเครื่องดนตรีทั้งหมด 3 ชิ้นด้วยกัน  กอระสับ ไม่แน่ใจว่าเรียกผิดหรือไม่ จะมีลักษณะคล้ายระนาดเอกเหล็กของไทย ซึง เป็นดนตรีพื้นเมืองของชาวเหนือ ประเภทเครื่องสาย ซึ่งคิดว่าหลายๆคนคงจะรู้จักกันดี และกลอง ก็ใช้ตีประกอบจังหวะนั่นเอง  นอกจากนี้ทางชุมชนบ้านวังไผ่ยังจัดการแสดงฟ้อนรำให้พวกเราได้รับชมกันอีกด้วย
                หลังจากนั้นก็ไปดูวิธีการทำบุก  ขั้นตอนการทำบุก คือ จะนำหัวบุกมาหมักแล้วก็นำไปบดกับเครื่องบดเพื่อให้ออกมาเป็นเส้นเล็ก สีขาว เรียวยาว ซึ่งการบดนั้นจะต้องออกแรงโยกคันโยกเยอะเสียหน่อย โดยการปีนขึ้นไปนั่งบนคันโยกเพื่อกดเส้นบุกให้ออกมาสวยงาม เมื่อผ่านการบดก็จะลงสู่กระทะต้มที่รองรับไว้ด้านล่าง  และเมื่อเส้นบุกสุกแล้วก็จะนำไปแช่น้ำเย็นเพื่อให้เส้นพองออกมา ก็สามารถนำไปประกอบอาหารได้  นอกจากดูวิธีการทำเส้นบุกแล้ว ของที่ระลึกที่ได้จากที่นี่ คือ ข้าวเหนียวหัวควาย  ซึ่งเป็นข้าวเหนียวที่ห่อคล้ายลักษณะหัวควาย
                สำหรับ ที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวไทลื้อนั้นก็มีวิถีชีวิตการเป็นอยู่ที่เรียบง่าย คล้ายกับบ้านต่างจังหวัดทั่วๆไป  ที่นี่มีการห้ามเผาป่าทุกกรณีในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ – เมษายนด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะนอกจากจะได้อนุรักษ์ป่าไม้แล้ว  ยังเป็นช่วงให้ต้นไม้ได้เจริญเติบโตอีกด้วย  เพราะการเผาป่าไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม นอกจากจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลเสียต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอีกด้วย
                การมาเยี่ยมเยียนชาวไทลื้อในครั้งนี้ ทำให้ฉันได้มีโอกาสสัมผัสวิถีชีวิตของชาวไทย-ภูเขาอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นอาหาร การแต่งกาย ความเป็นอยู่ และวัฒนธรรม  ถึงแม้ว่าเส้นทางการเดินทางอาจจะอยู่ลึก หรือเดินทางลำบากเสียหน่อย แต่ก็คุ้มที่ได้มีโอกาสล่องแม่น้ำกก...และสัมผัสวิถีชีวิตของชาวไทลื้อด้วย ตัวเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 27, 2011, 09:09:07 PM โดย Tommy »

ออฟไลน์ Tamroyporluang

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 15
  • คะแนน: +0/-0
กระตุกกี่...ทอผ้าไหมแบบฉบับชาวไทใหญ่
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 26, 2011, 02:48:46 PM »
หลังจากเดินทางออกจากหมู่บ้านของชาวไทลื้อแล้ว
พวกเราก็เดินทางต่อไปยังหมู่บ้านของชาวไทใหญ่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก
โดยเปิดประสบการณ์ครั้งนี้ คือ การเรียนรู้วิธีการทอผ้าตามแบบฉบับบชาวไทใหญ่ ค่ะ
 
การทอผ้าของชาวไทใหญ่นั้นพวกเขาก็ยังคงใช้เครื่องทอผ้าทั่วไป
โดยกลุ่มคนที่ทำส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มแม่บ้าน แต่ละคนนั้นจะมีการออกแบบลายผ้าด้วยตัวเอง
ซึ่งลายผ้าของแต่ละคนนั้นเปรียบเสมือน ลายเซ็น ของคนๆนั้น Cool
เพื่อเป็นการยืนยันว่าผ้าที่ทอออกมานั้นเป็นของเรา
คุณป้าบอกว่า ถึงแม้ว่าจะเอาผ้ามากองรวมๆกัน แต่ถึงอย่างไรก็จำของตัวเองได้อยู่ดี
ลายผ้าส่วนใหญ่นั้นไม่เฉพาะแต่ความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มแม่บ้านเท่านั้น
ทางโครงการหลวงก็จะส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเหลือ และดูแลขั้นตอนการผลิตด้วย
รวมถึงนำผลผลิตที่ได้ออกจำหน่ายให้อีกทางหนึ่ง
ราคาของผ้านั้นเริ่มตั้งแต่ 400 - 600 บาท ซึ่งราคาจะสูงขึ้นตามจำนวนและขนาดของลายผ้า
กล่าวคือ ยิ่งผ้าผืนใดมีลายผ้าสวย และเป็นลายผ้าเกือบตลอดผืน ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้น
คุณป้าบอกว่า ราคาสูงสุดที่เคยจำหน่ายนั้นอยู่ที่ 1,200 บาทค่ะ
โดยระยะเวลาการทอผ้านั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของลายผ้าแล้ว
ยังขึ้นอยู่กับขนาดความยาวของผ้าด้วย
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผ้าประมาณ 1 หลา ใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์
หากเป็นผ้าที่ต้องทอทั้งผืนจะใช้เวลาประมาณ 2 -3 อาทิตย์ด้วยกัน หรืออาจจะเป็นเดือนๆก็มีค่ะ

นอกจากนี้แล้วทางกลุ่มแม่บ้านชาวไทใหญ่ยังผลิตเสื้อจากผ้าไหม
และปักลายเสื้อเองด้วย ซึ่งลายเสื้อของที่นี่นั้นจะแตกต่างจากที่อื่น คือ การปักไปบนตะเข็บ
ต้องใ้ช้ความประณีต และความใจเย็นอย่างมาก เพื่อะได้เสื้อสักตัวที่มีลายผ้าสวยงาม
สำหรับการเปิดประสบการณ์ครั้งนี้ ฉันก็ไม่พลาดที่จะลองทอผ้าเช่นกัน

ต้องบอกตามตรงว่ามันค่อนข้างยาก และต้องออกแรงเยอะมาก
เพื่อให้ลายผ้าที่ออกมานั้นมีเส้นด้ายเรียงชิดกันสวยงาม ซึ่งสนุกมากๆค่ะ
ด้วยความที่ทำไม่เป็นและเพิ่งเคยลองเป็นครั้งแรกก็ดูเงอะงะไม่สักนิดนึงก็ตาม

ออฟไลน์ Tamroyporluang

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 15
  • คะแนน: +0/-0
ทัวร์แปลงเกษตรสาธิต...ชมผลิตผลโครงการหลวง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 26, 2011, 02:52:40 PM »
เมื่อออกเดินทางต่อ เราเดินทางไปยังแปลงเกษตรสาธิตของโครงการหลวง
บนพื้นที่อันกว้างใหญ่มีภูเขาเป็นฉากหลัง
เกษตรกรกำลังขุดดินกันอยู่กลางแดดที่แผดเผาลงมาก่อนจะตกดิน
ไร่มันสำปะหลัง ไร่ฟักทอง ไร่ถั่วเหลือง
ล้วนเป็นพื้นที่ของชาวบ้านกว่า 300 ไร่!!

ไร่ฟักทองที่พวกเราได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมนั้นมีหลายแปลงด้วยกัน
ซึ่งผลที่ยังไม่สุกดีจะเป็นสีเขียว แต่ผลที่สุกแล้วจะเป็นสีส้ม
ฟักทองพวกนี้เมื่อถึงเวลาจะต้องห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อป้องกันแมลง
โดยส่วนใหญ่แล้วไม่เฉพาะแต่ผลฟักทองเท่านั้น
รวมถึงพืชชนิดอื่นๆจะได้รับการดูแลด้วยหลัก 4 อ. ได้แก่

1.อารมณ์ - ชาวสวนจะต้องมีอารมณ์แจ่มใส เพราะเขาเชื่อว่าอารมณ์ของคนปลูกจะสื่อถึงพวกพืชพันธุ์ธัญญาหาร
หากคนปลูกมีอารมณ์แจ่มใส เช่น ร้องเพลง เจ้าต้นฟักทองพวกนี้ก็จะยิ่งเจริญเติบโตดี
2.อาหาร - การให้ปุ๋ยที่มีประโยชน์ รดน้ำพรวนดินอย่างดีี เพื่อให้มันเจริญเติบโตเต็มที่
3.ออกกำลังกาย - คนปลูกจะต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เพราะที่นี่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ หากดูแลไม่ทั่วถึงก็จะทำให้ผลผลิตไม่ได้ตามที่ต้องการ
4.อนามัย - การทำให้สิ่งเเวดล้อมน่าอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภค สิ่งเเวดล้อม บรรยากาศรอบข้าง ล้วนส่งผลต่อผลิตผลอย่างมาก
 
ซึ่งหลัก 4 อ.นี้เป็นหลักที่ถูกนำมาใช้ในการดูแลผลิตผลให้เจริญเติบโตสมบูรณ์
จนพร้อมส่งออกจำหน่ายได้
โดยชาวบ้านจะส่งฟักทองให้โครงการหลวง 30 - 45 ตัน ต่อเดือน!!
เฉลี่ยตันละ 1,000 บาท รวมแล้ว 1 เดือนคิดเป็นเงินประมาณ 30,000 บาท
ตกปีึหนึ่งๆรายได้อยู่ที่ 360,000 บาท!!!

นับว่าเป็นเม็ดเงินจำนวนมากที่ชาวบ้านจะได้รับ
แต่ก็ถือว่าคุ้มสำหรับผู้บริโภคเพราะนอกจากจะได้รับประทานผักผลไม้ที่อร่อย และมีประโยชน์แล้ว
ยังเป็นการช่วยอุดหนุนชาวบ้านอีกทางหนึ่งด้วย
 
หลังจากนั้นพวกเราก็เดินทางต่อไปยังศูนย์วิจัยโครงการหลวง
เป็นสถานที่ีที่อยู่ไ่กลจากแปลงเกษตรสาธิตมากนัก
ที่นี่จะเป็นสถานที่ที่จะนำผลผลิตที่ได้มาวิจัยก่อนส่งออกไปจำหน่าย
เพื่อตรวจหาสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือเป็นการสกรีนผลผลิตก่อนก็ว่าได้
 
จะเห็นได้ว่าผลผลิตของโครงการหลวงนั้นมาจากความตั้งใจของชาวบ้านและโครงการหลวง
ที่จะพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ เพราะผลผลิตที่ออกจากโครงการหลวงไปแล้ว
นอกจากจะีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ยังปลอดภัยจากสารพิษอีกด้วยค่ะ

ออฟไลน์ Tamroyporluang

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 15
  • คะแนน: +0/-0
เช้าวันใหม่ ณ ดอยอ่างขาง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 26, 2011, 02:59:18 PM »
สวัสดีเจ้า...ต้อนรับเข้าสู่เช้าวันใหม่ ณ ดอยอ่างขาง

                อากาศอันหนาวเหน็บถึงขั้วหัวใจ  สำหรับเช้าวันใหม่ ณ ดอยอ่างขางวันนี้ อุณหภูมิอยู่ที่ 7.5 องศาเซลเซียส  หลายๆคนคงจะนอนหลับใหลท่ามกลางอ้อมกอดแห่งขุนเขา  และคงนอนฝันหวานอยู่ใต้ผ้าห่มอย่างมีความสุข  สำหรับ ฉันแล้วการได้มาเที่ยวดอยอ่างขางเป็นครั้งแรกในชีวิตนั้นทำให้ฉันรู้สึก ตื่นเต้นไม่น้อยที่จะได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นที่ดอยอ่างขางแห่งนี้เป็นครั้ง แรก

                ฉันตั้งใจที่จะตื่นแต่เช้า  เพื่อออกไปชมพระอาทิตย์ขึ้น และสูดอากาศบริสุทธิ์ให้ชุ่มปอด  เมื่อพร้อมแล้วก็ไม่ลืมที่จะสะพายกล้องไปถ่ายรูปด้วย  เมื่อฉันเดินออกมาจากห้องพักแล้ว สิ่งแรกที่ฉันสัมผัสได้ คือ สายลมพัดความเย็นมาปะทะผิวกายอย่างไม่ขาดสาย  จนต้องรีบซุกมือเพื่อหาไออุ่นจากระเป๋ากางเกงทันที  เมื่อเดินลงมาจากตัวโฮมสเตย์แล้ว  นักท่องเที่ยวเริ่มออกเดินทางไปเที่ยวกันต่อ  แต่สำหรับเวลาหกโมงเช้าที่ดอยอ่างขาง ยังคงเห็นดวงตาสวรรค์ส่องแสงระยิบระยับบนผืนนภาสีครึ้ม  เสียงนกร้องและไก่ขัน เริ่มดังเป็นระลอกเพื่อทำหน้าที่ปลุกทุกคนให้ตื่นและเริ่มทำหน้าที่ตามวีถี ชีวิตของตนเอง 
                ฉันเดินไปยังตลาดนัดประจำดอยอ่างขาง  เป็นซอยเล็กๆ ตลอดสองข้างทางมีบ้านพักโฮมสเตย์ และร้านค้าจำนวนมาก  ส่วนใหญ่แล้วเป็นชาวจีนยูนนานที่เดินทางมาตั้งรกราก และจำหน่ายสินค้า  ดังนั้น บริเวณหน้าร้านจึงมีโคมแดงแขวนอยู่เกือบตลอดทั้งซอย เพื่อความเป็นสิริมงคล และโชคลาภจากการค้าขายตามความเชื่อของชาวจีน  แต่บรรยากาศ ณ เวลานั้นมีร้านขายเครื่องดื่ม และปาท่องโก๋เริ่มตั้งร้าน  รวมไปถึงร้านขายของโชห่วยเพียงเท่านั้น  ฉันจึงถือโอกาสเดินสำรวจตามจุดต่างๆแทน

                บรรยากาศยามเช้าเช่นนี้ ได้ฟังเสียงไก่ขัน ช่างเป็นสิ่งที่หายากในวิถีชีวิตของคนกรุง  นานแล้วที่ฉันไม่ได้มีโอกาสมาสัมผัสกับธรรมชาติ  ไม่ได้มีโอกาสมาสูดอากาศบริสุทธิ์เช่นนี้  ฉันมีความสุขมากจริงๆ  นักท่องเที่ยวที่ตื่นแต่เช้าต่างพากันออกมานั่งผิงไฟจากเตาถ่านเพื่อหาไอ อุ่น พร้อมกับจิบกาแฟร้อนๆไปด้วย  เมื่อพระอาทิตย์เริ่มทอแสง ฉันจึงเดินกลับลงไปยังตลาดนัดอีกครั้ง  นัก ท่องเที่ยวเริ่มเดินหาอาหารลองท้อง พ่อค้าแม่ค้าเริ่มออกมาตั้งร้านกันมากขึ้น ร้านค้าส่วนใหญ่นั้นจะจำหน่ายพวกหมวกไหมพรม เสื้อกันหนาว ถุงมือ และถุงเท้า หากเป็นอาหารก็จะเป็นพวกผลไม้แช่อิ่ม ผงชา กาแฟ และกาน้ำชา ถ้วยชาที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของชาวจีนยูนนาน รวมถึงชาวไทย-ภูเขาที่นำผลผลิตของตนมาวางขายด้วย  เช่น  สตรอเบอรี่สด น้ำผึ้ง ผักสดหลากชนิด อย่างเบบี้แครอท บร็อคโคโลนี่  เผือกเผา เป็นต้น  แต่ ที่น่าสังเกต คือ ภาชนะที่เขาบรรจุสินค้ามานั้น คือ หาบ ซึ่งเป็นกระบุงขนาดกะทัดรัดสองอัน และมีไม้ขนาดใหญ่ท่อนหนึ่งวางพาดไว้สำหรับแบกขึ้นบ่า  ฉันจึงขอแม่ค้ายกหาบบ้าง ซึ่งมันหนักมาก  ฉันไม่สามารถที่จะยกมันขึ้นจากพื้นได้  แล้วพวกเขายกได้อย่างไรกัน
                 นอกจากนี้ชาวไทย – ภูเขายังนำสร้อยข้อมือ สร้อยคอ พวงกุญแจ หรือสินค้าที่พวกเขาจะสามารถขายได้มาวางขายอีกด้วย ราคาไม่แพงมากนัก  ฉันจึงช่วยอุดหนุนกำไลเงิน 20 อัน ราคาเพียง 20 บาทเท่านั้น

                ฉันเดินถ่ายรูปเก็บภาพบรรยากาศไว้เสียจนจุใจ  ระหว่างถ่ายรูปก็ซื้อไมโล กับปาท่องโก๋รับประทานไปด้วย รวมถึงยังได้ชิมซาลาเปายักษ์ทอด อร่อยสุดๆ  และที่ขาดไม่ได้ คือการถ่ายรูปร่วมกับพี่ๆทีมประชาสัมพันธ์อีก 4 คน ถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนาน  และที่สำคัญพวกเราไม่ลืมที่จะถ่ายรูปกับป้าย ‘สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง’ ถ้าไม่ได้ถ่ายกับป้ายนี้ก็เท่ากับว่า มาไม่ถึงดอยอ่างขาง

                สำหรับ เช้านี้ฉันมีความสุขมากที่ได้เห็นอะไรใหม่ๆ แต่การเดินทางสำหรับวันนี้ยังคงอีกยาวไกล ณ ดอยอ่างขางแห่งนี้ยังมีเรื่องสนุก และสิ่งที่ไม่น่าเชื่ออีกมากมายที่รอให้คุณได้สัมผัสค่ะ :D
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 26, 2011, 03:11:49 PM โดย Tamroyporluang »

ออฟไลน์ Tamroyporluang

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 15
  • คะแนน: +0/-0
ณ ที่แห่งนี้ก็มีแพะอยู่
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 26, 2011, 03:02:06 PM »
   กิจกรรม แรกของวันนี้ คือ การสาธิตการรีดนมแพะ  ป้อนนมแพะ และได้สัมผัสแพะตัวเป็นๆ  หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ‘ดอยอ่างขางมีแพะด้วยเหรอ’ ‘แพะเลี้ยงในประเทศไทยได้เหรอ’ และ ‘นมแพะกินได้เหรอ’ สำหรับฉันเองก็เคยสงสัยเช่นกัน  แต่เมื่อได้มีโอกาสมาถึงดอยอ่างขางแล้ว กิจกรรมเกี่ยวกับแพะไม่ควรพลาดเลยค่ะ

                เนื่องจากโรงเรือนแพะตั้งอยู่บนดอย  เมื่อ นั่งรถตู้มาถึงก็ต้องเปลี่ยนเป็นรถกระบะเข้าไปหาแพะแทน เพราะว่าเส้นทางเป็นภูเขา และมีความลาดชันมาก จึงไม่สะดวกหากต้องเดินทางด้วยรถตู้  ถึงแม้ว่าเส้น ทางจะขรุขระและมีความลาดชันมากพอสมควร แต่การได้เห็นธรรมชาติอันสวยงาม ได้เห็นวิวทิวทัศน์บนเนินสูงก็ถือว่าคุ้มค่ากับการนั่งท้ายกระบะค่ะ  เมื่อ มาถึงแล้วสิ่งที่ได้ยินนั้น คือ เสียงการต้อนรับของแพะจำนวนมากที่กำลังกินอาหารอย่างเอร็ดอร่อย ฉันรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่าง เพราะเคยเห็นแพะแต่ในจอทีวีเท่านั้น รู้สึกว่าอยากเข้าไปสัมผัสมันใกล้ๆ  แต่ก่อนที่จะได้สัมผัสมันนั้นเราก็ควรที่จะรู้เรื่องราวเกี่ยวกับแพะกันก่อน ค่ะ

                  การเลี้ยงแพะบนดอยอ่างขางนั้นเกิดจากการเล็งเห็นว่าคนไทยนั้นดื่มนมน้อย และนมส่วนใหญ่ก็เป็นนมวัว ซึ่งบางคนอาจจะเกิดอาการท้องอืด หรือแพ้นมวัว และที่สำคัญนมวัวมีราคาค่อนข้างสูง แต่นมแพะนั้นมีข้อได้เปรียบมากกว่านมวัว คือ ย่อยง่าย เพราะโมเลกุลของนมแพะเล็กกว่าโมเลกุลของนมวัว  จึงเกิดความร่วมมือระหว่างผู้ประสานงานโครงการหลวง กับ โครงการไฮเฟอร์ ที่ส่งแพะพันธุ์’ซาเนน’ มีลักษณะสีขาวทั้งตัว หูเล็ก หน้าตรง และให้น้ำนมมาก สามารถให้น้ำนมได้ 1 – 2 กิโลกรัมต่อนมสองเต้า เข้ามาเพื่อทดสอบการดำรงชีวิต การขยายพันธุ์ และ การให้นม ซึ่งแพะพันธุ์ซาเนนนั้นสามารถอยู่ได้ทั้งที่ลุ่มและที่ราบสูง อีกทั้งเมื่อทดลองเลี้ยงแพะไปแล้วนั้นปรากฏว่าแพะมีการขยายพันธุ์ที่ดี และพบว่าแพะชอบกินผักโครงการหลวง เพราะเป็นผักสด และปลอดสารพิษ ส่งผลให้มีน้ำนมที่ได้มาตรฐานอีกด้วย คือ มีสีขาว อร่อย หอม และรสชาติดี 
                 เมื่อ มาถึงโรงเรือนแพะทั้งที ฉันจึงไม่พลาดที่จะเข้าไปทดลองรีดนมแพะ บางคนอาจจะบอกว่าง่าย แต่สำหรับฉันแล้วมันไม่ง่ายเลย วิธีการนั้นคล้ายกับการรีดนมวัว คือ  ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วโป้งจับไปที่นมแพะ ลักษณะการล็อคเอาไว้ แล้วค่อยๆบีบไล่ลงมา เพียงเท่านี้นมแพะก็จะไหลออกมา แต่ด้วยความที่ฉันกลัวว่ามันจะเจ็บจึงไม่กล้าบีบแรง ลองอยู่หลายครั้งกว่านมจะออกมาได้  ฉันดีใจมากที่สามารถรีดนมแพะด้วยตัวฉันเอง :D
เจ้า หน้าที่ศูนย์บอกว่า เราจะสังเกตว่ารีดนมแพะได้หมดจากเต้าแล้ว ให้สังเกตที่ท้องของมันที่ใช้เก็บนม เมื่อรีดใกล้หมดท้องจะค่อยๆแฟบลงไปเอง และเจ้าแพะยังมีการโชว์เอาหัวชนกันด้วย ไม่ใช่เพราะว่ามันต่อสู้กันรุนแรงแต่เป็นการแสดงถึงความเป็นเพศผู้ให้ตัว เมียเห็น หรือเป็นการเล่นกันของแพะด้วย นับว่าเป็นประสบการณ์ที่สนุกสนานและได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆอีกอย่างหนึ่ง
                นอก จากจะได้รีดนมแพะแล้ว เวลาที่ฉันรอคอยก็มาถึง คือการได้อุ้มลูกแพะ และป้อนนมแพะ เจ้าหน้าที่นำลังที่ใส่เจ้าแพะตัวน้อยๆออกมาจากโรงเรือน วินาทีแรกที่เห็นมันออกมาจากลัง ฉันรู้สึกว่ามันเหมือนลูกหมาตัวน้อยๆ น่ารักมาก ขนของมันดูขาวสะอาดตา ส่งเสียงเล็ก น่ารักออกมา มันวิ่งเล่นกันอย่างสนุกสนาน และไม่กลัวคนเลย ความน่ารักของมันทำให้ฉันอดใจไม่ไหวจึงเข้าไปขอเขาอุ้มบ้าง ฉันรู้สึกเหมือนได้อุ้มเด็กตัวเล็กๆน่ารัก มีความสุขที่สุดเลย!!  และ ยังได้ป้อนนมแพะอีกด้วย แต่กว่าจะป้อนนมแพะได้นั้นก็ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากแพะบางตัวอาจจะอิ่มแล้ว เจ้าหน้าที่จึงบอกว่าวิธีการให้แพะดื่มนม คือ การเอานิ้วของเราเข้าไปในปากให้มันดูดก่อน แล้วจึงค่อยใส่จุกนมตามเข้าไป  ฉันจึงลองทำตามคำแนะนำ มันก็เป็นอย่างที่เจ้าหน้าที่บอกไว้
              กิจกรรม แรกกับเจ้าแพะนั้นทำให้ฉันมีความสุขมาก นอกจากจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ความรู้ใหม่ๆแล้ว ยังทำให้ฉันอยากจะเลี้ยงแพะไว้ที่บ้านบ้างเสียแล้ว แพะน่ารักขนาดนี้ คุณเองก็อยากจะมาสัมผัสมันบ้างใช่ไหมคะ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 26, 2011, 03:11:12 PM โดย Tamroyporluang »

ออฟไลน์ Tamroyporluang

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 15
  • คะแนน: +0/-0
4 เมนูเด็ดจากปลายลิ้นสู่ปลายปากกา
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มีนาคม 26, 2011, 03:09:00 PM »
หลังจากที่ไปเยี่ยมแพะกันแล้วก็เดินขึ้นเขากันต่อ ซึ่งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากโรงเรือนของแพะสักเท่าไหร่  ถึงแม้ว่ามันจะค่อนข้างชันเสียหน่อย  แต่หากได้พบสิ่งแปลกใหม่ฉันก็พร้อมเสมอ

          เมื่อเดินขึ้นเขามาได้สักพักหนึ่ง  หากมองไปรอบๆก็จะพบแปลงปลูกผักกาดของชาวเขาขึ้นเรียงรายเต็มไปหมด  รวมถึงไร่ชาของชาวเขาอีกด้วย  โดยลักษณะการปลูกนั้นจะปลูกแบบขั้นบันได  เพื่อรักษาหน้าดิน  ลดความลาดเทของพื้นที่ ลดการไหลบ่าของน้ำบริเวณผิวดิน  และป้องกันไม่ให้ดินพังทลายลงมาอีกด้วย  หากมองลงไปบริเวณด้านล่างจะเห็นโรงเรือนที่เลี้ยงแพะ  และหากมองไปรอบๆจะเห็นภูเขาขึ้นสลับเรียงรายโอบล้อมเราอยู่ มีแสงพระอาทิตย์ส่องแสงขึ้นเป็นฉากหลัง นับเป็นภาพความประทับใจอีกภาพหนึ่งที่ฉันต้องถ่ายรูปเก็บไว้ และสิ่งที่ฉันประทับใจอีกอย่างหนึ่ง  คือ บนภูเขามีร่มที่มุงด้วยจากคล้ายร่มชายหาดวางเรียงรายอยู่  พร้อมกับมีตอไม้ที่ทำขึ้นไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักอีกด้วย  และสิ่งที่ฉันรอคอยกไม่ทำให้ฉันผิดหวัง หลังจากต้องใช้พลังขาอันแข็งแกร่งเดินขึ้นภูเขามา  ก็พบกับซุ้มอาหารซึ่งเป็นผลิตผลจากโครงการหลวงให้ฉันได้ลิ้มลอง  มีทั้งหมด 4 เมนู  ได้แก่  ชาเขียวร้อน  ไข่ต้มชา กาแฟร้อน และสลัดผัก

             ชาเขียวร้อน เป็นชาเขียวที่ได้จากน้ำพักน้ำแรงของชาวไทย-ภูเขาที่ช่วยกันปลูก และดูแลจนสามารถนำออกมาขายได้  เมื่อถึงเวลาเก็บใบชา  เขาก็จะนำมาตากแห้ง และคั่วบนกระทะจนสามารถนำมาต้มกินได้  ฉันเคยได้ยินมาว่าก่อนที่เราจะจิบชาหรือกาแฟควรดมกลิ่นของมันก่อน เมื่อกลิ่นของมันแตะปลายจมูก ฉันรู้สึกว่ามันแตกต่างจากชาทั่วไปที่เคยดม  เพราะชาเขียวที่นี่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ไม่ส่งกลิ่นฉุนจนแสบจมูกเหมือนชาที่อื่น และกลิ่นของมันทำให้ฉันรู้สึกสดชื่น  ไอร้อนที่ได้จากการดมทำให้ร่างกายได้รับความอบอุ่น ถึงแม้ว่าจะไม่มากเท่ากับการผิงไฟ  แต่ก็ทำให้ฉันรู้สึกดีอย่างมาก  สีของมันไม่ได้เขียวจนน่าตกใจ หรือสีน้ำตาลเข้มจนน่ากลัว กลับเป็นสีเขียวอ่อนใสตามธรรมชาติ เมื่อได้จิบชาเขียวแล้ว รสชาติของมันค่อนข้างหวานกลมกล่อมได้รสชาติ  ไม่ขมเหมือนชาที่เคยจิบมา ทำให้ฉันต้องขอจิบเพิ่มอีกถ้วยหนึ่งเลย

                สำหรับซุ้มถัดมาเป็น ไข่ต้มชา อาจจะรู้สึกแปลกสักหน่อย เพราะตั้งแต่เกิดมาก็เพิ่งจะเคยพบเป็นครั้งแรกในชีวิตเช่นกัน  เคยรับประทานแต่ไข่ต้มธรรมดาเท่านั้น แต่สำหรับที่นี่ย่อมมีองแปลกใหม่เสมอ และสำหรับไข่ต้มชานั้น เป็นการต้มไข่ไก่ผสมใบชา  เมื่อปอกเปลือกไข่จนหมด สีที่ออกมาจึงเป็นสีน้ำตาลเข้มที่ได้จากใบชา  หากลองดม  กลิ่นที่ได้ก็จะมีกลิ่นของใบชาผสมอยู่ด้วย  ทำให้รู้สึกแปลกใจและ รู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งใหม่นี้อยู่ไม่น้อย และก่อนจะรับประทานก็ต้องเหยาะแม็กกี้เสียหน่อยเพื่อเพิ่มรสชาติ แต่อย่างไรก็ตามก็อยากจะลองชิมไข่เปล่าๆดู รสชาติที่ได้นั้นก็มีกลิ่นของใบชาติดมาด้วยเช่นกัน  และเป็นเมนูที่ฉันจะลองกลับไปทำเมื่อถึงบ้านอย่างแน่นอน และไม่สงวนลิขสิทธิ์หากท่านผู้อ่านสนใจ  แต่หากจะได้บรรยากาศ และชิมไข่ต้มชาของแท้ก็ต้องที่ดอยอ่างขางที่เดียวเท่านั้นนะคะ

               มุมกาแฟร้อน ที่อยู่ถัดมานั้นก็ได้รับความสนใจ ไม่แพ้กัน เป็นกาแฟผลิตผลจากโครงการหลวง นอกจากชาวไทย – ภูเขาจะปลูกเองแล้ว ยังคั่วเองอีกด้วย  ส่งกลิ่นหอมกรุ่น  สีน้ำตาลอ่อนคล้ายสีคาราเมลน่าชิม พร้อมกับรสชาติ หวาน มัน อร่อย กลมกล่อม นอกจากจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นแล้ว ยังทำให้ร่างกายสดชื่นพร้อมที่จะเดินทางต่ออย่างไม่เหนื่อยอีกด้วย

               และซุ้มสุดท้าย สลัดผัก เป็นผักสดที่ชาวไทย –ภูเขาปลูกเองเช่นกัน  ซึ่งผักที่นี่จะสด กรอบ สีสวย น่ารับประทาน และมีความหวานกว่าผักที่อื่นหรือตามตลาดทั่วไป เพราะที่นี่ไม่ใช้สารเคมี จึงไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อีกทั้งให้ประโยชน์แก่ร่างกายอย่างแน่นอน  พร้อมทั้งมีไข่ต้ม และน้ำสลัดไว้รับประทานคู่กับผักสดด้วย

                4 เมนูเด็ดสำหรับเช้านี้ นอกจากจะทำให้ฉันได้พบกับสิ่งแปลกใหม่ที่มีอยู่จริงบนโลกแล้ว ยังทำให้ฉันอิ่มท้องและอิ่มใจ  มีพลังที่จะเดินทางไปค้นหาความอัศจรรย์ของโครงการหลวงต่อ แต่ก่อนที่จะเดินทางต่อนั้น มีผู้หญิงชาวไทย – ภูเขาคนหนึ่งเดินผ่านมา  พี่ๆโครงการหลวงบอกว่า คุณป้าคนนี้เก่งมาก  มีอาชีพปลูกชา และผักสดทั่วไป  แต่สิ่งที่ทำให้ตกใจมาก คือ รายได้ของป้า 6 แสนบาทต่อปี!!! ซึ่งมากกว่าพนักงานกินเงินเดือนในออฟฟิศทั่วไปบางคนเสียอีก  ฉันจึงไม่พลาดที่จะถ่ายรูปคุณป้าไว้เป็นที่ระลึก  การมาเที่ยวครั้งนี้ทำให้ฉันเห็นแล้วว่า โครงการหลวงไม่เพียงแต่สร้างอาชีพให้ชาวเขาแล้ว  ยังสร้างรายได้มหาศาลให้แก่พวกเขาอีกด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมในพระอัจฉริยภาพของในหลวง และทำให้ฉันเล็งเห็นถึงอาชีพในอนาคตแล้วว่า ฉันควรจะยึดอาชีพอะไรต่อไปดี

ออฟไลน์ Tamroyporluang

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 15
  • คะแนน: +0/-0
          หลังจากลิ้มรสสุดยอด 4 เมนูสำหรับเช้านี้แล้ว ฉันก็เดินทางไปต่อสำหรับกิจกรรมที่รอคอยที่สุดในชีวิต คือ  การเก็บผลสตรอเบอรี่สดจากไร่ ณ หมู่บ้านนอแล

         เมื่อเดินทางมาถึงไร่สตรอเบอรี่ของชาวปะหล่อง หมู่บ้านนอแลแล้ว ภาพที่เห็นคือ ไร่สตรอเบอรี่อันกว้างใหญ่ ปลูกแบบขั้นบันได กว้างไกลออกไปบนเนื้อที่ประมาณ   ไร่  ปุ๋ยที่ใช้นั้นเป็นปุ๋ยคอกผสมกับผักสดหมักทิ้งไว้ ซึ่งมันช่วยให้ผลสตรอเบอรี่โตเร็ว รสชาติหวาน และมีสีแดงสดน่ารับประทาน เจ้าหน้าที่บอกว่าตัวช่วยที่ทำให้สตรอเบอรี่มีรสชาติหวานยิ่งขึ้นนั้น คือ เพลี๊ย อย่างไรก็ตามก่อนจะเก็บรับประทานแบบสดๆก็ควรระวังเสียหน่อย และที่สำคัญรับรองได้ว่าสตรอเบอรี่ที่นี่สด สะอาด และปลอดภัยอย่างแน่นอน เพราะที่นี่ไม่ฉีดยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีใดๆทั้งสิ้น  เมื่อผลสตรอเบอรี่สามารถเก็บได้แล้วก็จะถูกส่งไปจำหน่ายต่อที่โครงการหลวง ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ชาวเขาตก 2 แสนบาทต่อปี นับเป็นเม็ดเงินมหาศาลจากการส่งสตรอเบอรี่จำหน่ายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

         เมื่อเจ้าหน้าที่บรรยายจบแล้ว ก็ถึงเวลาที่หลายคนรอคอย คือ การเก็บผลสตรอเบอรี่สดจากไร่ ซึ่งที่นี่มีกล่องพลาสติกไว้บริการด้วย เพียงราคากล่องละ 100 บาทเท่านั้น เราสามารถเก็บเท่าไหร่ตามใจชอบ และที่สำคัญ คือ จะเก็บไป กินไปก็ได้อีกด้วย นับเป็นความประทับใจและความสนุกสนานมากบนไร่สตรอเบอรี่แห่งนี้

       

ออฟไลน์ Tamroyporluang

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 15
  • คะแนน: +0/-0
            การเดินทางเรียนรู้วิถีชีวิตของชาว ไทย-ภูเขายังมีอีกมากมาย หลังจากที่เก็บสตรอเบอรี่กันอย่างสนุกสนานแล้ว ก็เดินทางกันต่อไปเยี่ยมชนเผ่าปะหล่อง ณ หมู่บ้านนอแล และหมู่บ้านอบด้ง

            สถานที่แรก คือ หมู่บ้านนอแล ณ ฐานปฏิบัติการบ้านนอแล หากเรียกให้เข้าใจกันง่ายขึ้น ก็คือ บริเวณสุดเขตชายแดนไทย – พม่า

             หมู่บ้านนอแลเป็นหมู่บ้านที่ชาวไทย – ภูเขา ชาวปะหล่อง ซึ่ง เป็นชนเผ่าที่อพยพเข้ามาจากพม่า พวกเขาจะเรียกตัวเองว่า ‘ดาระอัง’ ส่วนคำว่าปะหล่องนั้นเป็นภาษาไทยใหญ่ที่ใช้เรียกชมชนกลุ่มนี้ หมายถึง คนดอย หรือคนภูเขา

             เมื่อเดินทางมาถึงที่นี่จะมีมัคคุเทศก์น้อย เป็นเด็กๆชาวปะหล่อง อายุประมาณ  10 – 15  ปี พวกเขาพยายามที่จะฝึกลูกหลานชาวปะหล่องที่ถูกคัดเลือกและอาสามาทำหน้าที่ เป็นอาสาสมัครต้อนรับและให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของเหล่ามัคคุเทศก์น้อยนั้น นอกจากจะคอยดูแลนักท่องเที่ยวแล้ว สำหรับสิ่งตอบแทนที่พวกเขาจะได้ เป็นเพียงสินน้ำใจเล็กๆน้อยๆจากนักท่องเที่ยวที่ให้ด้วยความพึงพอใจ และข้อกำหนดอย่างชัดเจน คือ พวกเขาจะไม่เรียกร้องสิ่งใดๆเป็นการตอบแทน เมื่อได้มาสัมผัสด้วยตัวเองแล้ว มัคคุเทศก์น้อยทุกคนต่างมีความตั้งใจ และมีรอยยิ้มพร้อมพลังอันเต็มเปี่ยมที่มอบให้พวกเรา  ฉันจึงมอบสินน้ำใจเล็กน้อยให้แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งที่น่าชื่นชมคือ พวกเขาจะมีการแบ่งกันอย่างยุติธรรมที่สุด         

             สำหรับหมู่บ้านนอแล เป็นส่วนหนึ่งของดอยอ่างขาง มีพื้นที่ติดแนวชายแดนไทย-พม่า มีการอพยพของชนกลุ่มน้อยตลอดเวลา เช่น กลุ่มขุนส่า หว้า ไทยใหญ่ และชนเผ่าปะหล่อง  ชนเผ่าปะหล่องเป็นชมกลุ่มน้อยที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งโดยถวายฎีกาแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี 2527 เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จทรงงานที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง พระองค์จึงมีพระดำรัสให้ชนเผ่าปะหล่องอาศัยอยู่ที่บ้านอแล

              ฐานปฏิบัติการบ้านนอแลนั้น  เริ่มแรกเป็นที่ตั้งของวัดปะหล่อง และมีห้องเรียนเคลื่อนที่โดยเจ้าหน้าที่จากสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ทำหน้าที่เป็นครูสอนประจำที่โรงเรียนบ้านขอบด้ง ซึ่งไปสอนบ้างเป็นครั้งคราว แต่ต่อมาเมื่อปี 2528 – 2530 เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งบริเวณชายแดน ระหว่างกลุ่มขุนส่า  กลุ่มว้า และไทยใหญ่  มีเพียงกลุ่มว้าเท่านั้นที่เข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการบริเวณวัดปะหล่อง และห้องเรียนเคลื่อนที่ และในปี 2530 ได้เกิดเหตุการณ์ต่อสู้กันอย่างรุนแรงขึ้นระหว่างกลุ่มว้าที่ยึดครองพื้นที่ กับทหารพม่า จนในที่สุดทหารพม่าก็สามารถยึดครองพื้นที่ไว้ได้ และสามารถเชิญธงชาติพม่าขึ้นคู่กับธงชาติไทย หลังจากนั้นได้มีการส่งกำลังทหารไทยเข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการที่บ้านขอบด้ง เมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงอีกครั้ง ทหารไทยจึงเข้าเจรจากับทหารพม่า จนทหารพม่าถอยกำลังออกจากบริเวณพื้นที่วัดปะหล่อง และตั้งเป็นฐานปฏิบัติการบ้านอแลจนถึงทุก วันนี้                                 

                การเดินทางมา ณ ฐานปฏิบัติการบ้านนอแลครั้งนี้ นอกจากจะทำให้ฉันเห็นถึงประวัติการต่อสู้เพื่อปกป้องประเทศแล้ว ยังทำให้ฉันรู้ว่า ถึงแม้ว่าชนเผ่าปะหล่องจะไม่ใช่คนไทยแท้ แต่เมื่อพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ พี่น้องชาวไทยก็พร้อมที่จะช่วยเหลืออย่างไม่แบ่งชนชาติอีกด้วย นับเป็นสิ่งที่น่ายกย่องอย่างมากในน้ำใจของคนไทย  นอกจากนี้ที่นี่ยังมีการส่งเสริมอาชีพหัตถกรรมของชนเผ่าชาวปะหล่องอีกด้วย

                หลังจากนั้นพวกเราก็เดินทางไปศึกษาวิถีชีวิตยัง สถานที่แห่งที่สอง  คือ ชนเผ่ามูเซอดำ
ณ หมู่บ้านขอบด้ง กันต่อ ซึ่งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลกันนัก

               ชาวหมู่บ้านขอบด้ง เป็นหมู่บ้านดั้งเดิมซึ่งเป็นที่อยู่ของชนเผ่าชาวมูเซอดำ สังเกตได้จากการแต่งกายจะเน้นเสื้อผ้าสีดำ ในตอนต้นของโครงการหลวงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จมาที่หมู่บ้านขอบ ด้งก่อน แล้วจึงเสด็จเข้าไปในโครงการ ซึ่งจะมี จะหลุง ผู้นำหมู่บ้านคอยรับเสด็จ แต่เนื่องจากท่านเสียชีวิตไปแล้ว ตอนนี้จะมีเพียง จะหมอ น้องชายที่ทำหน้าที่เป็นหมู่บ้านแทนเท่านั้น ซึ่งเคยเข้าเฝ้าและรับเสด็จเช่นกัน  ปัจจุบันท่านยังมีชีวิตอยู่

              ลักษณะบ้านเรือนของชนเผ่ามูเซอดำ สังเกตได้ คือ หลังคาเตี้ย  และลักษณะสำคัญ คือพวกเขาจะก่อไผในบ้าน เนื่องจากว่าดอยอ่างขางมีอากาศหนาวเย็น  ประกอบกับตัวบ้านไม่ได้แน่นหนามากจึงสามารถก่อไฟในบ้านเพื่อสร้างความอบอุ่น ได้ อาชีพหลักของชนเผ่ามูเซอดำ คือ การปลูกสตรอเบอรี่บนพื้นที่ 80 กว่าไร่ ซึ่งเป็นพันธุ์เดียวกับชนเผ่าปะหล่องที่พวกเราได้ไปเก็บสตรอเบอรี่มาก่อน หน้านี้  นอกจากนี้แล้วพวกเขายังมีอาชีพทำหน้า เลี้ยงหมูป่า และจำหน่ายกำไล รวมถึงงานหัตถกรรมอีกด้วย

                สำหรับหมู่บ้านขอบด้งยังนับถือผี และมีความเชื่อว่าถ้าคนในหมู่บ้านไม่สบายหรือมีพิธีทำบุญ พวกเขาก็จะมีพิธีไหว้ผี โดยมีจะหมอเป็นผู้นำ จะมีการกระทืบเท้า และเต้นไปรอบๆในการทำพิธีด้วย

              ฉันได้มีโอกาสเข้าไปในบ้านของชนเผ่ามูเซอดำด้วย บ้านของเขามีลักษณะเป็นสองชั้น ตัวบ้านทำจากไม้ไผ่ที่สานกันไม่แน่นมากทั้งหลัง  ใต้ถุนบ้านจะเป็นที่สำหรับเก็บฟืน และมีพื้นที่ไว้สำหรับชะล้าง ส่วนชั้นบนจะเป็นพื้นที่ไม่กว้างมากนัก บริเวณกลางบ้านจะมีที่ไว้สำหรับก่อไฟ และหุงหาอาหาร  และแยกพื้นที่ไว้สำหรับนอนอีกด้านหนึ่ง  ซึ่งมีวีถีชีวิตเรียบง่ายมาก  นอกจานี้ฉันยังมีโอกาสได้ลองสะพายกระบุงของชนเผ่ามูเซอดำ และได้ลองสวมชุดที่พวกเขาเย็บด้วยความประณีตสวยงามอีกด้วย  สำหรับสินค้าที่วางจำหน่ายนั้น เป็นพวกกำไล และสินค้าหัตถกรรมที่พวกเขาทำขึ้นเอง

                การดำเนินวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชนเผ่ามูเซอดำนั้น นอกจากอยู่กับธรรมชาติ ดำเนินวิถีแห่งความพอเพียงแล้ว ไม่ต้องการปัจจัยอื่นๆที่นอกเหนือจากปัจจัยทั้ง 4 เพราะพวกเขารู้ว่า เขาจะสามารถหาความสุขอันแท้จริงได้จากที่ไหน มันทำให้ฉันตระหนักถึงการดำเนินชีวิตของคนกรุงในปัจจุบันที่ต้องแข่งขัน ดำเนินชีวิตอยู่บนความอยากได้ อยากมี และอยากเป็น มีแต่ความโลภ โกรธ หลง  แม้จะอยู่ในประเทศเดียวกัน แต่ทำไมมันถึงต่างกันเช่นนี้

ออฟไลน์ Tamroyporluang

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 15
  • คะแนน: +0/-0
   หลังจากทราบถึงประวัติความเป็นมาของโครงการหลวงกันเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่โครงการหลวงบอกว่าเราจะไปรับประทานอาหารกลางวันกันที่สโมสรอ่าง ขาง  ซึ่งสามารถเดินผ่านสวน ๘๐ ลงไปได้  แต่กว่าจะได้รับประทานอาหารนั้นทุกคนต่างแวะถ่ายรูปกับดอกไม้ที่ถูกจัดวาง ไว้อย่างสวยงาม ณ สวน ๘๐ แห่งนี้

         สวน ๘๐ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสโมสรอ่างขาง ซึ่งสวนนี้จัดขึ้นในวาระที่หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงมีอายุครบ 80 ชันษา โดยเป็นแปลงปลูกไม้ประดับเมืองหนาว จัดตามสไตล์สวนอังกฤษ นับว่าเป็นไฮไลท์ของการมาเที่ยวสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง  มีดอกไม้นานาชนิดทั้งของอังกฤษ ญี่ปุ่น เช่น ดอกเดซี่  ดอกกะหล่ำประดับ ไวโอเล็ต, ชบาอาบูติลอน ลินาเลีย เป็นต้น สีสันและกลิ่นของดอกไม้ทำให้รู้สึกสดชื่น และเก็บภาพความประทับใจไว้มากมาย เพราะนานๆครั้งจะได้มาเห็นสวนไม้ประดับเมืองหนาว ออกดอกสวยงามมาก อีกทั้งยังหายากมาประดับตกแต่งไว้ ณ สวนแห่งนี้  ด้วยบรรยากาศการตกแต่งสวนที่มีการจัดเป็นทางเดิน และมีดอกไม้ขึ้นล้อมรอบ ด้านข้างมีการสร้างน้ำตกจำลอง และเก้าอี้สำหรับนั่งพักผ่อนหรือถ่ายรูปตามอัธยาศัยราวกับอยู่บนสวรรค์  สิ่งสวยงามเหล่านี้ยากนักที่จะมีโอกาสได้เห็นและสัมผัสด้วยตัวเอง นักท่องเที่ยวจึงไม่พลาดที่จะต้องแวะมาเยี่ยมชมความตระการตาของสวน๘๐ แห่งนี้

        หลังจากที่เพลิดเพลินกับการถ่ายรูป และตะลอนทัวร์กับกิจกรรมต่างๆแล้ว ก็ถึงเวลารับประทานอาหารกลางวันณสโมสรอ่างขาง  บริเวณด้านใน จัดตกแต่งสถานที่แบบสบายๆ เป็นกันเองเหมือนท่านได้อยู่บ้านของตนเอง ซึ่งจะแยกเป็นโซนนั่งพักผ่อน กับโซนร้านอาหาร  โดยจะมีกลิ่นไอของชาวเหนือผสมอยู่ด้วย  สำหรับเมนูเด็ดของสโมสรอ่างขางที่อยากจะนำเสนอ คือ ยำสตรอเบอรี่   ซึ่งเป็นเมนูการนำผลสตรอเบอรี่มาประกอบอาหารในรูปแบบของการยำ ซึ่งได้รสหวานจากผลสตรอเบอรี่ และรสเผ็ดจากพริก ตอนแรกอาจจะดูแปลก ไม่เข้ากัน แต่เมื่อได้ลองชิมแล้วมันอร่อยมาก เพราะความหวานของสตรอเบอรี่ กับความเผ็ดของพริกนั้นสามารถเข้ากันได้อย่างลงตัว หากใครไม่เชื่อ ขอแนะนำว่าควรมาลองชิมด้วยตัวเอง  และสำหรับเมนูอาหารของสโมสรอ่างขางนั้นมีให้เลือกตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเมนูอาหารชนเผ่าที่อาศัยอยู่บนดอยอ่างขาง  เมนูอาหารพื้นเมือง เมนูเนื้อสัตว์ เมนูประเภทยำ ซึ่งล้วนแล้วเป็นผลผลิตจากโครงการหลวง ซึ่งรับรองได้ว่าถูกปาก และถูกใจนักท่องเที่ยวอย่างแน่นอน
             เมื่ออิ่มท้องแล้วก็ต้องเดินชมบริเวณด้านนอก   สำหรับด้านนอกนั้นจะมีร้านกาแฟดอยคำ จำหน่ายกาแฟ และขนม  ซึ่งเป็นผลผลิตของโครงการหลวง อีกทั้งยังจำหน่ายโปสการ์ดราคา 10 บาท  พร้อมติดแสตมป์ และมีตู้ไปรษณีย์อ่างขางไว้บริการจัดส่งอีกด้วย   บริเวณใกล้ๆก็มีซุ้มไว้ถ่ายรูป และมีบริการโต๊ะนั่งสำหรับรับประทานอาหาร  ให้อีกด้วย

             บรรยากาศ ณ สวน ๘๐ และสโมสรอ่างขางนั้น นอกจากจะทำให้เพลินตาเพลินใจกับธรรมชาติอันงดงามแล้ว ยังทำให้เราอิ่มท้อง และอิ่มใจอีกด้วย