หมวดหมู่ทั่วไป > แชร์ประสบการณ์/โพสต์รูปประทับใจ

ทริปทำดีร่วมปลูกป่าต่อเนื่อง 22 ปี กับ กฟผ.

(1/3) > >>

admin:
ช่วงนี้กระแสเรื่องของป่าไม้มาแรงตลอดๆ ได้ยินข่าวอยู่เนืองๆ ทั้งเรื่องบุกรุกป่า พื้นที่ป่าไม้ไทยที่ลดลงอย่างรวดเร็ว จนหลายๆ ฝ่ายเริ่มออกมารณรงค์ให้คนไทยร่วมใจปลูกป่า แม้กระนั้นเองทุกวันนี้ขณะนี้ก็ยังคงมีการบุกรุกต้ดไม้ทำลายป่าอยู่ตลอดเวลาด้วยเหมือนกัน ฉะนั้นแล้วเราจะมัวรอให้การรักษาป่าไม้เป็นเรื่องของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคงจะไม่ดีแน่ ถ้ามีใครมาชวนเราไปช่วยกันปลูกป่าพ่วงกับแวะเที่ยวไปด้วยในช่วงเวลาที่เราพอจะมีเวลาละก็เราจะไม่ปฏิเสธเลยละ และแล้วโอกาสก็วิ่งเข้ามาหาเราแล้ว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีโครงการปลูกป่าอยู่ผืนหนึ่ง (จากหลายๆ ผืน) อยู่ที่จังหวัดน่าน ซึ่งได้ดำเนินการปลูกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 22 ปี มีต้นไม้จำนวนกว่า 16,560,000 ต้น ในพื้นที่ 82,800 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่เกือบทุกอำเภอใน จ.น่าน ภายใต้โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ กฟผ. อีกด้วย

    เช้าวันแรกของการเดินทางทริปนี้ ไปเครื่องบินจากดอนเมืองเที่ยวเช้า ลงสนามบินน่าน เดินทางต่อไปยังพื้นที่ป่าเยี่ยมชมผืนป่าเขียวขจีที่ได้รับการดูแลและปลูกเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ถ้าอยากรู้ว่าทำไมการปลูกป่าพื้นที่นี้ประสบผลสำเร็จ เราลองไปดูกันว่ามีแนวทางอย่างไรชาวบ้านจึงลดการทำลายป่าหันมาดูแลรักษาป่าแทนได้อย่างที่เราเห็น

admin:
จุดแรกที่เราเดินทางมาคืออ่างเก็บน้ำน้ำแก่น ซึ่งอยู่ที่ ต.น้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง จ.น่านเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมย้อนรอย 22ปี โครงการปลูกป่า กฟผ. ตามไปดูป่าปลูกที่ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้ปลูกไว้เมื่อ 22ปี ที่แล้ว โดยมี อ.ประดิษฐ์ เพชรแสนอนันต์ ผู้ประสานงานอาสาสมัครรักษ์ผืนป่า จ.น่าน เป็นผู้นำบรรยาย

admin:
จากนั้นเราเดินทางไป แปลงสาธิตโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน อ.ภูเวียง จ.น่านโดยมี นายอำเภอภูเวียง นายชนาธิป เสมแย้ม มาเป็นประธานแจกพันธุ์กบและปลาดุกให้ชาวบ้านเลี้ยงเป็นอาชีพ ตามแนวทางการปลูกป่า “ปลูกที่ท้อง” อันเป็นแนวทางการปลูกป่าของ กฟผ. “ปลูกที่ท้อง” คือการปลูกป่าด้วยการจ้างงานชุมชนในพื้นที่ให้ปลูกป่าและบำรุงรักษาป่า เพื่อให้ชุมชนที่ดูแลป่ามีกินมีใช้ พึ่งพาตัวเองได้ เมื่อประชาชนมีวิธีการทำกินโดยไม่ต้องพึ่งพาการตัดไม้ถางป่าเพื่อเอาที่ดินมาเพาะปลูกอย่างเดียว ก็ย่อมทำให้พื้นที่ป่าไม่ถูกทำลาย เมื่อไม่ถูกทำลายการปลูกให้ป่ามีพื้นที่มากขึ้นย่อมทำได้สำเร็จได้ง่าย

    ต่อมา แนวทางปลูกป่า “ปลูกที่ใจ” โดย กฟผ.ได้รณรงค์ปลุกจิตสำนึกให้เห็นคุณค่า และพร้อมดูแล ปกป้องผืนป่าให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์เป็นจิตสำนึกของชาวบ้านในพื้นที่

admin:
และสุดท้ายคือการ “ปลูกในป่า” รุ่งขึ้นก่อนเข้าไปยังพื้นที่ที่ปลูกป่า เราได้มีโอกาสชมผืนป่าที่ทาง กฟผ.ได้ปลูกไว้จากภาพเราทางด้านหลังเราจะเห็นป่าที่สมบูรณ์ที่ทาง กฟผ. ได้ดำเนินการปลูกมาเป็นเวลา 22 ปี

admin:
จากนั้นเราเดินทางมายังศูนย์บริการประชาชนหมวดทางหลวงสันติสุข ซึ่งเป็นจุดที่กลุ่ม “ปลูกเลย” มารวมตัวร่วมลงทะเบียนและแบ่งกลุ่มกัน

จากนั้นก็เดินแถวไปขึ้นรถเพื่อเข้าพื้นที่ปลูกป่าต่อจากนั้นต้องเดินเท้าต่อเข้าไปอีกระยะทางประมาณ 800ม.เป็นทางขึ้นลงเขาเล่นเอาเหนื่อยทีเดียวแต่ทุกคนก็ยังมุ่งมั่นสนุกสนานกันอยู่

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version