หมวดหมู่ทั่วไป > แบกเป้เที่ยว AEC เรื่องราวท่องเที่ยวต่างแดน

ทริปปฎิบัติการพิเศษ"15,000 ไมล์จากอัลไตสู่สุวรรณภูมิ"สานสัมพันธ์ไทย-จีน ภาค#1

(1/3) > >>

jai:
วันแรก(14พ.ย.58)
ปฎิบัติการพิเศษของการเดินทาง "15,000 ไมล์จากอัลไตสู่สุวรรณภูมิ"

ททท.จับมือกับรัฐบาลจีนร่วมเดินทางสร้างประวัติศาสตร์ท่องเที่ยวอีกหน้ากับ “15,000 ไมล์จากอัลไต(จีน)สู่สุวรรณภูมิ(ไทย) ด้วยคาราวานรถยนต์ตามเส้นทางสายไหมสู่เส้นทางท่องเที่ยวสายใหม่ สานสัมพันธไมตรี 40 ปีไทย-จีน & วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว (ไทย-จีน)” เนื่องในโอกาสพิเศษโดยใช้คาราวานรถยนต์จำนวน 40-55-60 คัน เดินทางจากเทือกเขาอัลไตของจีน ซึ่งเขาเล่าว่า...เป็นต้นกำเนิดของชนชาติไทย  เดินทางผ่านความหนาวเย็น ทุ่งหญ้า ทะเลทราย เรื่องราว ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมต่างๆ แต่ละเมือง มาตามเส้นทางสายไหมของกองคาราวานอูฐที่มามาร์โคโปโลใช้เดินทางขนสินค้าในอดีต ผ่านเส้นทางสามก๊กของจีน สู่เส้นทางท่องเที่ยว AEC กับเส้นทาง R3A ผ่านลาวเชื่อมเมียนมาร์ สู่ประเทศไทยพิชิตท่องเที่ยวไทย 19 จังหวัดภาคกลาง เชื่อมโยงภาคอีสานและภาคเหนือ ใช้เวลาเดินทาง 37 วัน 36 คืน

ทีม ททท.จากประเทศไทย รายงานการเดินทางโดย คุณสมชาย ชมภูน้อย ผอ.ททท.ภูมิภาคภาคกลาง
1.ออกจากสนามบินสุวรรณภูมิ ประเทศไทย
สายการบิน CHINA SOUTHERN AIRLINES เดินทางสู่นครกวางเจา มณฑลกวางตุ้ง (6.00น.)
2.เดินทางสู่นครกวางเจา สู่เมืองอูรูมูฉี มณฑลซินเจียง (15.15น.)
3.ถึงเมืองอูรูมูฉี มณฑลซินเจียง (21.00น.) พักที่อูรูมูฉี เพื่อเดินทางต่อไปอัลไตเช้าตรู่ของวันที่ 15พ.ย.58 ต่อไป

(สนใจรายงานติดตามปฎิบัติการนี้ ผ่าน TPBS และ www.เที่ยวภาคกลาง.com หรือเฟซบุ๊คแฟนเพจ TAT_Tiewpakklang
 ได้ทุกๆวันตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย.-20 ธ.ค.58)
สนใจรายละเอียด ทั้งหมด กรุณาคลิกๆอ่านได้ที่นี่ http://www.tiewpakklang.com/news/central-region/19872/

jai:
วันที่ 2 (15 พ.ย.58)
ตื่นเช้ามา ตี 5 (เวลา 04.00 น.ของประเทศไทย) มุ่งหน้าสู่สนามบินที่อูรูมูฉี มณฑลซินเจียง
(ที่นี่กลางคืนยาวกว่ากลางวัน เวลาประมาณ 16.00 น.มืดแล้ว เวลา 09.00 น.ยังไม่สว่าง)
ทีมผู้สื่อข่าวตกเครื่องบินต้องบินตามไปอัลไต 2-3 ทุ่ม เดินทางถึงสนามบินอัลไต อากาศติดลบเกือบ 20 องศา C หิมะตกขาวทั้งเมืองอัลไต
คณะสื่อมวลชนและคณะ ททท.เดินทางตามหาเรื่องราว "อัลไต กับ สุโขทัย & THAILAND" มีอะไรเกี่ยวข้องกัน ที่พิพิธภัณฑ์ ชุมชน แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในเมืองอัลไต มณฑลซินเจียง

มารู้จักอัลไตกัน?.....
เทือกเขาอัลไต เป็นเทือกเขาในเอเชียกลาง บริเวณพรมแดนร่วมของประเทศรัสเซีย จีน มองโกเลีย และคาซัคสถาน และยังเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำอิร์ทีช(Irtysh) แม่น้ำโอบ (Ob) และแม่น้ำเยนิไซ (Yenisei) ด้วย ส่วนปลายทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขา อยู่ที่พิกัด 52 องศาเหนือ กับระหว่าง 84 และ 90 องศาตะวันออก (ซึ่งไปจรดกลืนเขากับเทือกเขาสายัน (Sayan Mountains) ทางตะวันออก) และทอดยาวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงพิกัด 45 องศาเหนือ 99 องศาตะวันออก แล้วค่อย ๆ ต่ำลง กลืนเข้ากับที่ราบสูงแห่งทะเลทรายโกบี
ชื่อ อัลไท ในภาษาตุรกี สะกด "Alytau" หรือ "Altay" มาจากศัพท์ Al (ทองคำ) และ tau (ภูเขา) ในภาษามองโกเลีย เรียกว่า อัลทาอิน-อูลา หมายถึง เทือกเขาแห่งทองคำ เทือกเขาแห่งนี้ ยังมีชื่อเรียกว่า เอก-ทัค (Ek-tagh), อัลไตแห่งมองโกล (Mongolian Altai) อัลไตใหญ่ (Great Altai) และอัลไตใต้ (Southern Altai)

เทือกเขาอัลไตยังเป็นที่รู้จักดีในหมู่นักศึกษาประวัติศาสตร์ภาษาไทย เนื่องจากเคยเชื่อกันว่า เป็นที่ตั้งดั้งเดิมของชาวไทยสมัยโบราณ ก่อนจะอพยพลงมาจนถึงบริเวณประเทศไทยในปัจจุบัน แต่ปัจจุบันนี้ความคิดดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการส่วนใหญ่ ทว่ายังมีเนื้อหาเช่นนี้ปรากฏในตำราเรียน หรือหนังสือด้านประวัติศาสตร์อยู่บ้าง

jai:
วันที่ 3 ของการเดินทาง : (16 พ.ย.58)
ปฎิบัติการพิเศษของการเดินทาง "15,000 ไมล์จากอัลไตสู่สุวรรณภูมิ"
รองผู้ว่า ททท.ร่วมทำพิธีเปิดและปล่อยคาราวานรถยนต์จากเส้นทางสายไหม สู่เส้นทางท่องเที่ยวสายใหม่ กับปฎิบัติการ "15,000 ไมล์จากอัลไตสู่สุวรรณภูมิ" สานสัมพันธไมตรีวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว 40 ปี ไทย-จีน ณ เมืองอัลไต ในวันที่ 16 พ.ย.58 เวลา 10.00 น.(เพราะที่นี่ตอนนี้พึ่งรับแสงสว่างจากพระอาทิตย์)

jai:
วันที่ 4  (17 พ.ย.58)
เส้นทางสายไหม จากท้องทุ่งทะเลทราย"สือเหอจือ" ซึ่งกองกำลังทหารได้สร้างบ้านสร้างเมืองทำสงครามกับความแห้งแล้ง ให้เป็นแหล่งสีเขียวแหล่งเกษตรกรรมผลิตอาหารแห่งหนึ่งของจีน

- เช้าที่เมืองเค่อลามาอี้ (แหล่งท่องเที่ยวแพะเมืองผี-เมืองบ่อน้ำมัน) มณฑลซินเจียง คณะคาราวานเร่ิมออกเดินทางต่อวันนี้ 9.00 น./เวลา 8.30 น.ดูบรรยากาศเมืองยังมืดอยู่เลย อากาศยังติดลบเช่นเดิม

- ชมพิพิธภัณฑ์ทหารสือเหอจือ (พิพิธภัณฑ์กองทัพปกป้องชายแดนและประวัติศาสตร์ของการสร้างเมืองสือเหอจือ) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดของซินเจียง สร้างด้วยกองกำลังทหารกว่า 800,000 คน ต่อสู้กับภัยแล้งกลางทะเลทราย อยู่กว่า 20 ปี จนทหารอายุมากขึ้นเริ่มชรา จึงได้ประกาศรับนักศึกษาอาสาสมัครหญิง กว่า 200,000 คน มาจับคู่แต่งงานช่วยพัฒนา บ้านเมือง/สืบสกุลจนกลายเป็นเมืองใหญ่ กลายเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญแหล่งหนึ่งของจีน

- ชมวิถีชีวิตชาวเมืองอูรูมูฉี (เมืองเอกของมณฑลซินเจียง) กับ ตลาดบาซาร์ (ตลาดต้าปาจา) เป็นแหล่งช็อปปิ้งซื้อสินค้าพื้นเมืองมากมาย เช่น มีดเหล็กซินเจียง แส้หางจามรี เสื้อผ้า พรมเปอร์เซีย ผลไม้ อาหารท้องถิ่น และสินค้าอื่นๆ อีกมาก บาซาร์ (Bazar)ตลาดนัดขายสินค้าพื้นเมือง เลือกซื้อของที่ระลึก เช่น ผ้าพันคอสีสวย เครื่องเงินแบบอาหรับ ผลไม้อบแห้ง เช่น องุ่น แอปริคอด กีวี อินทผาลัม เลือกซื้อเมล็ดอัลมอนอบแห้ง เมล็ดวอลนัตอบแห้ง และถั่วอบแห้งชนิดต่างๆ)

- งานเลี้ยงต้อนรับจากเจ้าภาพ โดยมณฑลซินเจียง นำโดยท่านอธิบดีกรมวัฒนธรรมซินเจียง จัดการต้อนรับและการแสดง มอบของที่ระลึกไปจัดแสดงที่ศูนย์วัฒธนธรรมจีนประจำประเทศไทย

jai:
วันที่ 5 ของการเดินทาง : (18 พ.ย.58)
ตามหาเส้นทางสายไหม เมืองทูรูฟาน เมืององุ่นหวาน เมืองแม่น้ำใต้ดิน เส้นทางเดินทางผ่านการแสวงบุญพระถังซำจั๋ง

- เช้านี้คณะ VIP และสื่อมวลชน บางส่วนแยกเดินทางกลับ เหลือแต่กองคาราวานไทย-จีน พร้อมสื่อมวลชนที่เดินทางจริงๆ ปฎิบัติการพิเศษ

- กองคาราวานเดินทางเช้านี้ ล้อหมุนออกเดินทาง 9.30 น.) คณะเดินทางออกจากเมืองอูรูมูฉี เมืองเอกที่เมืองเมืองใหญ่ที่เจริญรุ่งเรืองที่สุด มณฑลซินเจียง

- เดินทางผ่านพร้อมเยี่ยมชมแหล่งพลังงานลมทามกลางภูเขาหิมะและความหนาวเย็น (เมืองกังหันลมใช้ผลิตกระแสไฟฟ้านับหมื่นๆตัวตั้งเรียงรายกัน เขาเล่าว่า.....ลมที่นี่แรงมากๆ สามารถพัดรถยนต์18 ล้อตกถนนได้ กังหันนี้ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ภายในตัวเมือง)

- ชมแหล่งท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรมซากร้างเมืองเก่า เมืองกษัตริย์ เมืองเกาชาง สร้างราว 100 ปี ก่อนคริสตกาล

- คาราวานเดินทางสู่เมืองทูรูฟาน ดินแดนองุ่นหวาน เมืองแม่น้ำใต้ดิน ชมถ้ำพระพันองค์(เซียนฝอด้ง) มรดกโลก(ที่มีชื่อเสียงด้านศิลปกรรมของโลกอีกด้วย) แหล่งพุทธศาสนาในดินแดนชาวมุสลิม ชมภูเขาเพลิง (ฝอเยี่ยนซาน) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเขาเล่าว่า...ตำนาน "ไซอิ๋ว" ตอนที่ซุนหงอคงไปยืมพัดกายสิทธิ์จากองค์หญิงพัดเหล็กมาดับไฟในภูเขาเพลิงแห่งนี้ เพื่อให้พระถังซำจั๋งเดินทางไปเชิญพระไตรปิฏกที่อินเดียมาที่จีน ชมระบบชลประทานแม่น้ำใต้ดิน (คานเอ่อจิ่ง) นับเป็นโอเอซีสของท้องทะเลทรายในอดีตของเมืองทูรูฟาน โอเอซีส ได้นำน้ำที่ละลายจากน้ำแข็งบนภูเขาหิมะที่ละลายลงใต้ดินนำน้ำมาใช้เพื่อการเกษตร ชมแหล่งองุ่นหวาน (ผูเถาโกว) ผลไม้ที่มีชื่อเสียงของมณฑลซินเจียง (องุ่น ลูกท้อ แอพริคอด)

- งานเลี้ยงรับรองสานสัมพันธไมตรี โดยรัฐบาลท้องถิ่น ทูรูฟาน (รองผู้ว่าการเมืองทูรูฟาน/ผู้หญิง)

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version