หมวดหมู่ทั่วไป > ข่าวสารการท่องเที่ยว

แต่งไทยเที่ยวแบบวิถีไทย ไหว้พระเสริมสิริมงคล 9 พระอารามหลวง

<< < (2/2)

admin:
๕. วัดบวรนิเวศวิหาร
คติ “เพื่อให้พบแต่สิ่งดีงาม”

วัดบวรนิเวศวิหาร อยู่ที่ถนนพระสุเมรุ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพเป็นแม่กองก่อสร้าง เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4, 6, 7 และ 9 เมื่อครั้งทรงผนวช ณ วัดแห่งนี้ สิ่งที่น่าชมภายในวัด ได้แก่ พระพุทธชินสีห์ พระรูปสมเด็จพระสมณเจ้า 2 องค์ คือ สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ และสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส นอกจากนี้ยังมีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง ตำหนักปั้นหยา และพระศาสดา พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ซึ่งพระมหาธรรมราชาลิไททรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1900

admin:
๖. วัดชนะสงคราม
คติ “เพื่อให้มีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง”

วัดชนะสงคราม เดิมอยู่กลางทุ่งนาจึงเรียกว่า วัดกลางนา สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงสถาปนาขึ้นใหม่ และรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ทหารรามัญในกองทัพของสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ชาวบ้านนิยมเรียกว่า"วัดตองปุ" ตามแบบวัดตองปุในสมัยอยุธยา ต่อมาเมื่อมีชัยชนะต่อกองทหารข้าศึกจึงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดชนะสงคราม" เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย พระนามว่า "พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฎฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะชยันตะโคดมบรมศาสดา อนาวรญาณ"

    วัดชนะสงครามตั้งอยู่ที่ ถนนจักรพงษ์ แขวงบางลำพู เขตพระนคร สามารถเดินทางโดยรถประจำทางสาย 33, 64, 65, ปอ. 32, 64, 65

admin:
๗. วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
คติ “เพื่อให้เดินทางปลอดภัย มีมิตรไมตรีที่ดี”
เดินทางโดยเรือค่ะ

admin:
๘. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
คติ “เพื่อให้ชีวิตรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน”
เดินทางโดยเรือค่ะ

รีวิว วัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเรียกว่า "วัดมะกอก" ตามชื่อตำบลบางมะกอกซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ภายหลังเปลี่ยนเป็น "วัดมะกอกนอก" เพราะมีวัดสร้างขึ้นใหม่ในตำบลเดียวกันแต่อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ชื่อ "วัดมะกอกใน" ต่อมาใน พ.ศ. 2310 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทางชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น "วัดแจ้ง" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัดนี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรีและได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่ มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลางพระราชวังจึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์นี้มาจากลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทน์ได้ในปี พ.ศ. 2322 โดยโปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางขึ้นประดิษฐานไว้ในมณฑป และมีการสมโภชใหญ่ 7 คืน 7 วัน (ในปี พ.ศ. 2327 พระแก้วมรกตได้ย้ายมาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมหาราชวัง ส่วนพระบางนั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดพระราชทานคืนไปนครเวียงจันทน์)

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ได้โปรดให้สร้างพระนครใหม่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และรื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก วัดแจ้งจึงไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังอีกต่อไป พระองค์จึงโปรดให้วัดแจ้งเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นพระองค์ทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (รัชกาลที่ 2) เป็นผู้ดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดแจ้งแต่สำเร็จเพียงแค่กุฎีสงฆ์ก็สิ้นรัชกาลที่ 1 ใน พ.ศ. 2352 เสียก่อน ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ ทั้งได้ทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูปด้วยฝีพระหัตถ์ และโปรดให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และโปรดให้มีมหรสพสมโภชฉลองวัดในปี พ.ศ. 2363 แล้วโปรดพระราชทานพระนามวัดว่า "วัดอรุณราชธาราม"

การเดินทางมายังวัดอรุณฯ
    ทางเรือ ขึ้นเรือข้ามฟากจากฝั่งพระนครที่ท่าเตียน าคาค่าโดยสาร 3.5 บาท
    รถยนต์ส่วนตัว หากมาจากถนนปิ่นเกล้า ข้ามสะพานอรุณอมรินทร ผ่านโรงพยาบาลศิริราช กรมอู่ทหารเรือ วัดเครือวัลย์ กรมสารวัตรทหารเรือ โดยวัดอรุณฯ อยู่ทางฝั่งซ้ายมือ
    รถประจำทาง : รถประจำทางที่ผ่านวัดอรุณฯ ได้แก่ สาย 19, 57 และ 83

admin:
๙. วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
คติ “เพื่อให้มีชื่อเสียงโด่งดัง ผู้คนนิยมชมชอบ”
เดินทางโดยเรือค่ะ

รีวิว วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร


วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือวัดระฆัง เป็นพระอารามหลวงชั้นโท เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ สร้างตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระประธานยิ้มรับฟ้า เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระราชาคณะในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อไปสักการะสมเด็จพุฒาจารย์ ให้ขอพรโดยการสวดคาถาชินบัญชร แล้วปักธูปที่กระถาง และปิดทองที่รูปปั้น เสร็จแล้วพรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล

    สามารถเดินทางโดยรถประจำทางสาย 19, 57 หรือมาทางเรือโดยเรือด่วนเจ้าพระยา ลงที่ท่าเรือรถไฟหรือท่าวังหลัง หรือข้ามฟากที่ท่าช้าง แล้วขึ้นที่ท่าเรือวัดระฆัง

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version