ผู้เขียน หัวข้อ: ททท.ร่วมกับจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดงานมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุนานาชาติที่เมืองนคร  (อ่าน 1354 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,661
  • คะแนน: +1/-0
วันที่ 3 มีนาคม กองประชาสัมพันธ์ภายในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นำคณะสื่อมวลชนหลายแขนง เดินทางเก็บภาพบรรยากาศงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สืบทอดมายาวนานถึง 800 ปี ที่นครศรีธรรมราชที่พุทธศาสนิกชนทั้งในพื้นที่และที่อยู่ในจังหวัดห่างไกลเดินทางดั้นด้นมาร่วมงาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2558 นี้ ที่ได้ร่วมกับ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ ยกระดับงานประเพณีนี้ให้เป็นงานระดับนานาชาติ จึงทำให้ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าร่วมงานประเพณีที่สำคัญนี้อย่างเนืองแน่น จนแทบไม่มีที่ว่างพอที่จะเข้าไปห่มผ้าพระบรมธาตุเจดีย์ ประชาชนส่วนหนึ่งจึงได้นำผ้ามาห่มเจดีย์องค์เล็กที่อยู่โดยรอบจำนวนมาก ผ้าที่นำมาแห่แหนในปีนี้ยาวมากประมาณ 2500 เมตร

มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุนานาชาติที่เมืองนคร 2558

    นครศรีธรรมราชถือได้ว่าเป็นดินแดนที่หลากหลายและเป็นแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ มีพระบรมธาตุเจดีย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของศาสนิกชน เป็นเส้นทางท่องเที่ยวสุขใจ เมื่อไปสัมผัสพลังแห่งศรัทธาอิ่มอุ่นและอิ่มเอมด้วยความปิติแห่งความเป็นสิริมงคล แม้เพียงครั้งเดียวที่มีโอกาสได้มานมัสการองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เชื่อกันว่าเป็นสิริมงคลแห่งชีวิตอันใหญ่หลวงเพราะมีโอกาสใกล้ชิดองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีคำกล่าวว่าเม็ดทรายทุกเม็ดในแผ่นดินนี้ถูกเหยียบย่ำโดยผู้ใฝ่ธรรมมาแล้วทั้งสิ้น จนชาวพุทธเชื่อกันว่าเกิดมาหนึ่งชาติขอให้ได้กราบพระธาตุเมืองนคร เพื่อมุ่งหมายให้ทุกคนละชั่ว ใฝ่ดี และทำจิตใจให้ขาวรอบ จึงถือได้ว่าชาวนครศรีธรรมราชเติบใหญ่ภายใต้ร่มเงาศิลปะที่ผสมผสานกับความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ ของอาณาจักรตามพรลิงค์ อันมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ประจักษ์บนถนนสายเดียวเที่ยวได้ ๕ ศาสนา ๕ วัฒนธรรม และยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามหลากหลาย และมีคุณภาพที่ได้รับรางวัลกินรีเป็นเครื่องหมายรับประกันถึง 15 รางวัลและที่นี่เป็นเมืองที่อากาศดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ทั้งยังเป็นนครแห่งการเรียนรู้ดูงาน เหนืองสิ่งอื่นใด นครศรีธรรมราชยังมีประเพณี วัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความมีชีวิตจิตญาณ เป็นเหตุปัจจัยให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาทุกอย่างให้เอื้อต่อการเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงพุทธ จนถึงขั้นเป็นดินแดนแห่งการท่องเที่ยวจาริกแสวงบุญ ณ พระบรมธาตุเจดีย์บนคาบสมุทรแหลมทองที่มีความสัมพันธ์กับนานาชาติรอบมหาสมุทรอินเดีย - อ่าวเบงกอล มาเนิ่นนานให้ทัดเทียมกับอีก ๓ สถานแสวงบุญสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก คือ สังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย อนุราชปุระ - โปโลนารุวะ ประเทศศรีลังกา และมหาเจดีย์ชเวดากองในสหภาพพม่า และด้วยพลังแห่งความเชื่อและศรัทธาในพุทธานุภาพที่กว้างไกล ยังมี ประเพณีที่เป็นมรดกตกทอดมามากกว่า 800 ปี คือประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเพื่อน้อมนำการปฏิบัติบูชาตามคำสอนสำคัญของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ โอวาทปาฏิโมกข์ แห่งมาฆะมาส ละชั่วใฝ่ดีและทำจิตใจให้ขาวรอบเกิดมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยวเชิงพุทธหรือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และให้เกิดการพัฒนาอย่างสมดุลระหว่างการท่องเที่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีที่เก่าแก่สู่การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้อันจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์วัฒนธรรมและเป็นวิถีไทย

ประเพณีบูชาผ้าพระบฏห่มองค์พระบรมธาตุ หนึ่งเดียวที่เมืองนคร สู่ระดับนานาชาติ
จากตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ที่สืบสานมาเป็นหนึ่งในพิธีประเพณีสำคัญของชาวพุทธทั่วทั้งด้ามแหลมทองมาช้านาน กระทั่งถือกันว่า สักครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสห่มผ้าบูชาพระบรมธาตุเมืองนคร โดยเฉพาะ ในโอกาสมาฆบูชาที่ถือกันว่าเป็นโอกาสอันเป็นมงคลมหากุศลยิ่ง มีพุทธศาสนิกชนทุกชาติทุกภาษาหลั่งไหลกันมาแห่ผ้าบูชาพระบรมธาตุอย่างเนืองแน่นในทุกปีนั้น โดยในปี 2558 นี้ เทศบาลนครนครศรีธรรมราชา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หอจดหมายเหตุพุทธาสอินทปัญโญ และทุกภาคส่วนในจังหวัด ได้ร่วมกันยกระดับให้เป็นอีกงานสำคัญประจำปี ถึงระดับนานาชาติ ประกอบด้วยการพัฒนา สาธิต นิทรรศการ สมโภชแล้วแห่แหน ผ้าพระบฏของพุทธศาสนิกชน ทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่นเมืองนคร จนถึงทั่วทุกภูมิภาค และจากนานาชาติในระดับงานใหญ่ ของชาวพุทธทั่วโลก เช่นเดียวกับงานแห่บูชาพระเขี้ยวแก้ว แห่งกรุงแคนดี้ประเทศศรีลังกา และงานบูชามหาถังกาในทิเบต

จากการศึกษารูปแบบผ้าพระบฏทั้งของไทยยและต่างประเทศ มีเค้าแบบผ้าพระบฏตามรูปทรงด้วยกันทั้งสิ้น 4 แบบ คือ

1 ผ้าพระบฏผืนผ้า ขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้าสำหรับห้อยแขวนและม้วนเก็บได้ ถือเป็นแบบที่นิยมกันอย่างแพร่หลายที่สุด เช่น ผ้าพระบฏพุทธประวัติต่างๆ ของไทย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ที่นิยมทำเป็นรูปพระพุทธเจ้าอมิตาภะพระโพธิสัตว์ ครูบาอาจารย์ ทิวทัศน์ ฯลฯ ผ้าพระบฏแบบนี้มีการพัฒนาเป็นพิเศษที่ทิเบต เนปาลและประเทศแถบเทือกเขาหิมาลัยด้วยการเย็บกรอบด้วยแพรไหมพร้อมด้วยสายแขวนและแผ่นปก เรียกว่า "ถังกา"

2 ผ้าพระบฏผืนยาว ที่นำผ้าทั้งพับมาคลี่ทำผ้าพระบฏ โดยอาจมีการต่อกันได้ไม่รู้จบและอาจมีการวาดภาพลงบนผืนผ้ามากน้อยตามกำลังศรัทธา ในประเทศไทยเหลือร่องรอยเพียง 2 แบบ ได้แก่ผ้าบุญผะเหวด หรือ พระเวสสันดรของภาคอีสาน ที่นิยมเขียนภาพเรื่องพระเวสสันดรต่อกันยาว อีกแบบคือผ้าพระบฏเมืองนคร นิยมเขียนภาพพุทธประวัติเป็นช่องๆ หรือไม่ก็เป็นเพียงผืนผ้าสีขาว เหลือง หรือแดง

3 ผ้าพระบฏตุง คล้ายผ้าพระบฏผืนผ้า แต่เป็นแถบแคบและยาว ใช้ห้อยแขวนประดับบูชาหรือประกอบขบวนแห่ ปัจจุบันจะเรียกชื่อ ตุง ในเฉพาะภาคเหนือ

4 ผ้าพระบฏธงราว ลักษณะคล้ายธงราวประดับตกแต่งทั่วไป โดยมีการให้ความหมายด้วยการพิมพ์ภาพสิ่งที่เคารพและคาถากำกับไว้เป็นเสมือนธงมนตรา ที่คอยโบกพัดพุทธมนต์ให้ผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาทั่วแดนดิน ในเขตหิมาลัย ผ้าพระบฏธงราวมีบทบาทสูงมากนิยมแขวนไว้ทั้งดินแดน โดยเฉพาะบริเวณสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระเจดีย์วิหารช่องเขา ฯลฯ โดยมีพิธีเก็บธงผืนเก่าแขวนผืนใหม่พร้อมๆ กันในวัดปีใหม่เหมือนการผลัดเปลี่ยนใบและดอกของต้นไม้

ประเพณีกวนข้าวมธุปายาสยาคู เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญของงานมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุนานาชาติที่เมืองนคร

ข้าวมธุปายาสยาคู (ข้าวทิพย์ ข้าวกระยาทิพย์ ข้าวยาคู) เป็นชื่อของอาหารชนิดหนึ่ง ในสมัยก่อนชาวภาคใต้นิยมทำกันที่วัดทุกปีในเดือน 6 บ้าง เดือน 10 บ้าง โดยถือเอาระยะที่ข้าวแตกรวงผลิเมล็ดพอเป็นน้ำนม แต่ภายหลังหันมานิยมทำกันในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 3 ต่อเนื่องกับวันมาฆบูชา แต่เดิมการกวนมธุปายาสยาคูเป็นศาสนกิจของพราหมณ์ ภายหลังพุทธศาสนิกชนได้นำมาปฏิบัติเป็นประเพณีด้วยสืบเนื่องความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ตอน นางสุชาดา ถวายข้าวมธุปายาสยาคู เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยแล้วก็ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณ พุทธศานิกชนชาวนครศรีธรรมราชมีความเชื่อว่า ข้าวยาคูเป็นอาหารทิพย์ ผู้ได้รับประทานจะสมองดี เกิดปัญญามีอายุยืนยาว พลานามัยที่สมบูรณ์ ผิวพรรณผ่องใส เป็นยาขนานเอกที่สามารถขจัดโรคร้ายได้ทุกชนิด ทั้งยังบันดาลความสำเร็จสมความปรารถนาในสิ่งที่คิดด้วย

ส่วนประกอบในการกวนข้าวมธุปายาสยาคู มี 12 แบบด้วยกันตาม 12 ปีนักษัตร ได้แก่
    ชวด ใช้กล้วย และ ใบกล้วยรองหลังจากกวนเสร็จ
    ฉลู ใช้เนื้อลูกตาล หรือ น้ำตาลสด
    ขาล ใช้เนื้อขนุน หรือ เม็ดขนุน
    เถาะ ใช้เนื้อมะพร้าว หรือ น้ำมะพร้าว และไม้มะพร้าวเป็นฟืน
    มะโรง ใช้เยื่อไผ่ และไม้ไผ่เป็นฟืน
    มะเส็ง ใช้ใบโพธิ์ รองหลังจากกวนเสร็จ
    มะเมีย ใช้ กล้วย และใบกล้วยรองหลังจากกวนเสร็จ
    มะแม ใช้เยื่อไผ่ และไม้ไผ่เป็นฟืน
    วอก ใช้เนื้อขนุน หรือ เม็ดขนุน
    ระกา ใช้ไม้จากต้นฝ้ายเป็นฟืน
    จอ ใช้เกสรดอกบัวหลวง และใบบัวหลวงรองหลังจากกวนเสร็จ
    กุน ใช้เกสรดอกบัวหลวง และใบบัวหลวงรองหลังจากกวนเสร็จ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 06, 2015, 04:03:30 PM โดย admin »

ออฟไลน์ admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,661
  • คะแนน: +1/-0
ภายในช่วงวันที่ 1-4 มีนาคม 2558 ชาวบ้านทั้งใกล้และไกลจะเดินทางเข้ามาที่วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งแต่เช้า ส่วนใหญ่นิยมนำผ้ามาห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์แบบครอบครัว บางส่วนเดินทางด้วยรถส่วนตัวจนทำให้หาที่จอดได้ยากทั้งในวัดและถนนรอบๆ วัด และส่วนใหญ่ใช้รถสองแถวเหมากันมาบ้าง นั่งมากับรถประจำทางบ้างเพื่อความสะดวก แต่ละครอบครัวจะจัดผ้าพระบฏสีเหลืองเป็นส่วนใหญ่ มาห่มพระธาตุสั้นยาวตามกำลังของแต่ละบ้าน ยาวสุดคือผ้าที่ซื้อยกไม้มาเลยแล้วเดินเรียงแถวตามกันโดยจะแห่ผ้ายกขึ้นประมาณระดับไหล่หรือหัว จำนวนคนที่เดินทางมามากจนทำให้บริเวณวัดแน่นจนเดินแทบไม่ได้ หลายครอบครัวห่มผ้าที่เจดีย์รายองค์เล็กที่อยู่รอบๆ พระบรมธาตุเจดีย์แทน ส่วนอีกจำนวนไม่น้อยก็ยังไม่ลดละความพยายามที่จะนำผ้าขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ให้ได้แม้ว่าจะต้องต่อคิวนานแค่ไหนก็ตาม แสดงให้เห็นถึงพลังศรัทธาที่ออกมาจากแก่นแท้ในจิตใจของพุทธศาสนิกชนแดนใต้

ออฟไลน์ admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,661
  • คะแนน: +1/-0
 :) คนที่ต่อคิวรอแห่ผ้าขึ้นธาตุเมื่อถึงคิวก็จะแห่เดินขึ้นบันไดในพระวิหารที่มีขนาดเล็ก ขึ้นแถวเดียวลงแถวเดียวจึงทำให้การห่มผ้าพระธาตุใช้เวลานาน คนเข้าคิวก็ต้องเข้าคิวยาวออกไปนอกระเบียงคดรอบพระวิหาร และดูเหมือนจะไม่สั้นลงเลยพอขึ้นไปได้ก็มีคนมาต่ออีกเป็นแบบนี้ตลอด 4 วันที่จัดงาน ชาวบ้านที่มาในงานนี้หลายคนมาปีละ 2 ครั้งเรียกว่าบุญเล็ก บุญใหญ่ก็ไม่เคยขาดเลยทีเดียว

ออฟไลน์ admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,661
  • คะแนน: +1/-0
เมื่อคนเดินขึ้นไปจนเต็มลานประทักษินรอบพระธาตุ เจ้าหน้าที่จะต้องปิดประตูเพื่อไม่ให้คนเข้ามาเพิ่ม แล้วระบายคนที่อยู่บนพระธาตุออกไปนอกพระวิหารก่อน คนที่รออยู่นอกพระวิหารต้องยืนตากแดดนานกว่าครึ่งชั่วโมง แต่ทุกคนก็ยังยิ้มแย้มแจ่มใสในวันทำบุญมหากุศลในชีวิต เห็นแล้วปีติในจิตอันบริสุทธิ์ขาวรอบ ดังประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา ขออนุโมทนาด้วยครับ

ออฟไลน์ admin

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,661
  • คะแนน: +1/-0
ภาพมุมสูงของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยพี่ใหญ่ บล็อคเกอร์ท่องเที่ยวพันทิป  https://www.facebook.com/yaipearn
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 09, 2015, 03:43:37 PM โดย admin »