ผู้เขียน หัวข้อ: มารู้จักรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษากันดีกว่า  (อ่าน 4889 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ namkhengsai

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 11
  • คะแนน: +0/-0



      รถไฟฟ้า   เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (สมุทรปราการ-บางหว้า-พระราม 1-ยศเส-ลำลูกกา) (อังกฤษ: Elevated train in Commemoration of H.M. the King 6th Cycle Birthday) หรือชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า รถไฟฟ้า บีทีเอส (BTS Skytrain) เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี (BTSC) ภายใต้สัมปทานของกรุงเทพมหานคร เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เปิดบริการตั้งแต่เวลา 6.00 - 24.00 น อัตราค่าโดยสารสำหรับผู้โดยสารเที่ยวเดียวคิดในอัตรา 2 สถานี ต่อ 5 บาท เริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 40 บาท สามารถซื้อบัตรโดยสารแบบเที่ยวเดียวได้จากตู้จำหน่ายบัตรโดยสารแบบหยอดเหรียญ นอกจากนี้ยังมีบริการบัตรโดยสารแบบเติมเงิน บัตรโดยสารแบบสามสิบวันสำหรับนักเรียน นักศึกษา และบัตรโดยสารแบบสามสิบวันสำหรับบุคคลทั่วไป สามารถซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในโอกาสที่เปิดบริการมาครบ 9 ปี ปรากฏว่า มียอดมีผู้ใช้บริการตั้งแต่เปิดให้บริการ 972,034,298 เที่ยว มีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลี่ยวันทำการ 424,369 เที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.6% โดยในปี 2551 นี้มีผู้ใช้บริการสูงสุดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551 จำนวน 497,390 เที่ยว [2] และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 มีผู้โดยสารใช้บริการ รถไฟฟ้า เฉลี่ยในวันทำการสร้างสถิติใหม่สูงสุดเท่ากับ 509,106 เที่ยว/คน [3]

ปัจจุบัน รถไฟฟ้า บีทีเอสอยู่ในระหว่างการพิจารณาจากกระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย ในการโอนย้ายกิจการรถไฟฟ้าทั้งหมดจากเดิมที่เป็นสัมปทานและทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร ไปเป็นทรัพย์สินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยแทน[4] เนื่องจากกระทรวงคมนาคมเล็งเห็นว่า กรุงเทพมหานครไม่เหมาะสมที่จะดูแลโครงการใหญ่ๆ เพราะอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้ อีกทั้งยังสะดวกต่อการเดินรถในส่วนต่อขยายของสายสุขุมวิท ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยจะไม่ใช้วิธีว่าจ้าง BTSC เข้าไปดำเนินการ แต่จะใช้วิธีการประมูลโครงการแบบ PPP Gross-Cost แบบเดียวกับ รถไฟฟ้า มหานคร สายสีม่วง ซึ่งอาจจะเกิดกรณีที่ผู้ให้บริการอาจจะไม่ใช่ BTSC อีกต่อไปได้ และยังเพิ่มความสะดวกกับรัฐในการควบคุมค่าโดยสาร และการออกตั๋วร่วมที่จะไม่มีค่าแรกเข้าอีกด้วย