ผู้เขียน หัวข้อ: ทำพระองค์ใหญ่เท่าเทพีเสรีภาพ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธรูปแห่งบามิยันที่ถูกระเบิดทำลาย  (อ่าน 4674 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Tommy

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2,577
  • คะแนน: +3/-1
  • รักเมืองไทย เที่ยวเมืองไทย
    • ทัวร์ออนไทยดอทคอม
ทำพระ เท่าเทพีเสรีภาพ: http://bit.ly/nHbeDS
ทำ"พระ"เท่าเทพีเสรีภาพ : ข่าวสดออนไลน์: http://bit.ly/oGXRMb

ปางขอฝน "พระราชินี" รับอุปถัมภ์


ปางขอพร - นาย พลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี และท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ แถลงข่าวโครงการสร้างพระพุทธรูปปางขอฝน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ตามเจตนารมณ์สมเด็จพระมหาธีราจารย์(นิยม ฐานิสสโร) เมื่อวันที่ 27 ก.ค.

แถลง สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ปางขอฝนขนาดเท่าเทพีเสรีภาพ "สมเด็จพระราชินี" ทรงรับเป็นประธานอุปถัมภ์ตามเจตนารมณ์สมเด็จพระมหาธีราจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม เพื่อรำลึกถึงพระพุทธรูปแห่งบามิยันที่ถูกระเบิดทำลายทิ้ง ตั้งประดิษฐานในพื้นที่ 300 ไร่ วัดทิพย์สุคนธาราม จ.กาญจนบุรี

เมื่อ วันที่ 27 ก.ค. ที่หอประชุมทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แถลงเปิดโครงการจัดสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ในพระบรมราชินูปถัมถ์ โดยพระพุทธรูปปางคันธารราฐหรือปางขอฝน มีพุทธลักษณะพระอิริยาบถยืนตรง ทรงผ้าวัสสิกสาฎก พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ หรืออก พระหัตถ์ซ้ายหงายรองรับน้ำฝน ซึ่งจะจัดสร้างและประดิษฐานที่วัดทิพย์สุคนธาราม ต.ดอนแสลบ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี ตามเจตนารมณ์ของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร ป.ธ.9) อดีตเจ้าอาวาสวัด ชนะสงคราม ที่มรณภาพ

นอกจากนี้ ยังมีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการครั้งที่ 1/2554 อาทิ นายพลากร สุวรรณรัฐ ประธานคณะกรรมการ ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา พล.อ.ต.อาวุธ เงินชูกลิ่น และนายชลาลักษณ์ บุนนาค โดยบรรยากาศภายในงานมีการจัดวางต้นไม้ เพื่อจำลองเป็นพุทธอุทยาน อาทิ ต้นประ ดู่กิ่งอ่อนด่าง ตาลโตนด งิ้วด่าง ไทรใบแหลม จิก (มุจลินท์) จิกทะเล จำปา หูกระจงด่าง อินจัน ทองหลางด่าง และยางอินเดียนแดง เป็นต้น โดยต้นไม้ทั้งหมดจะปลูกไว้ในจุดที่จำลองเป็นพุทธอุทยาน ในวัดทิพย์สุคนธาราม ด้วย

ต่อมาเวลา 13.10 น. นายพลากร กล่าวว่า สมเด็จพระมหาธีราจารย์ มีความประสงค์ที่จะจัดสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่สูง 32 เมตร มีอาการครบบริบูรณ์ 32 ของมนุษย์ เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพสักการะอีกแห่งหนึ่ง และตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่าพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถฯ ซึ่งมีความหมาย 3 ประการ คือเป็นพระพุทธรูปซึ่งเป็นที่พึ่งของชาวไทยและชาวโลก รวมทั้งเป็นพระพุทธรูปซึ่งเป็นที่พึ่งของ 3 โลก คือ โลกสวรรค์ โลกมนุษย์ และยมโลก และเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้น เพื่อรำลึกถึงพระพุทธรูปแห่งบามิยัน ในประเทศอัฟกานิสถาน ที่ถูกระเบิดทำลายทิ้ง

"ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ มีปณิธานมุ่งมั่น ที่จะจัดสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นมา เพื่อแทนพระพุทธรูปแห่งบามิยันที่ถูกทำลายลงไป ตลอดจนเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิก ชนทั่วโลก ใช้เวลาหลายปีในการบอกบุญจนได้ปัจจัยถวายมาแล้วประมาณ 30 ล้านบาท ในส่วนของพุทธลักษณะนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ปั้นขึ้นรูปด้วยตนเอง เมื่อทำไม่ไหว ก็จะให้ลูกศิษย์ปั้นต่อ จากนั้นจึงตรวจทานและแก้ไขจนออกมาสมบูรณ์แบบ" ประธานคณะกรรมการกล่าว

นาย พลากร กล่าวต่อว่า สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ได้กำหนดพื้นที่กว่า 300 ไร่ ในวัดทิพย์สุคนธาราม ซึ่งเป็นพื้นที่แล้งน้ำ ชาว บ้านต้องบรรทุกน้ำเข้ามาใช้อุปโภค บริโภค ประดิษฐานพระพุทธรูปปางขอฝน ที่จะสร้างด้วยโลหะสัมฤทธิ์ สูง 32 เมตร และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบให้กลายเป็นพุทธอุทยาน ตลอดจนสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็นขึ้นมา โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมดประมาณ 4 ปี และจะบวงสรวงในวันจันทร์ที่ 22 ส.ค. เวลา 11.59 น. บริเวณจัดสร้างองค์พระ ที่สำคัญนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ เททองชิ้นส่วนสำคัญขององค์พระพุทธรูป ในเดือน ส.ค.2555

ด้านท่าน ผู้หญิงจรุงจิตต์ ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ค.2553 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และทรงสดับพระธรรมเทศนา เนื่องในวันวิสาขบูชา ที่วัดชนะสงคราม สมเด็จพระมหาธีรา จารย์ได้ทูลถึงความตั้งใจในการจัดสร้างพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับเป็นธุระผลักดันให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ภาครัฐและเอกชนจึงจัดตั้งโครงการนี้ขึ้น เมื่อวันที่ 10 ต.ค.53 โดยสมเด็จพระมหาธีราจารย์ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการขึ้นมา เมื่อวันที่ 20 พ.ค.53 จากนั้นสำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือแจ้งว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณรับโครงการไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค.54 เพื่อรำลึก ถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดสร้างพระพุทธรูปองค์นี้

"วัตถุประสงค์ของ โครงการ เพื่อเฉลิมพระ เกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนม พรรษา 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธ.ค.54 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่อง ในวโรกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 12 ส.ค. 55 เพื่อรำลึกถึง เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ผู้ริเริ่มแนว คิดสร้างพระพุทธรูปองค์นี้" ที่ปรึกษาคณะกรรมการกล่าว

ด้านพล.อ.ต. อาวุธ ในฐานะประธานกรรม การ และประธานคณะกรรมการฝ่ายออกแบบ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ปั้นต้นแบบพระพุทธรูปขึ้นมา ตามพุทธลักษณะเดิมที่สมเด็จพระมหาธีราจารย์ปั้นไว้ แต่ปรับตรงท่ายืนให้มั่นคงยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่มีความสูงถึง 32 เมตร ใกล้เคียงกับเทพีเสรีภาพในสหรัฐอเมริกา ที่มีความสูง 34 เมตร จึงมีน้ำหนักที่องค์พระมหาศาล แต่เทพีเสรีภาพมีลักษณะเป็น ผ้าคลุมถึงพื้น จึงง่ายในการวางโครงเหล็ก แตกต่างกับองค์พระพุทธรูปที่ต้องเห็นสรีระทั้งองค์ แต่จะยึดหลักที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ปั้นไว้

พล.อ.ต.อาวุธ กล่าวต่อว่า ส่วนฐานองค์พระนั้น จะมีการยกพื้นฐานประทักษิณเพื่อใช้ประโยชน์ในพิธีทางศาสนา อาทิ เวียนเทียน ทำให้ความสูงขององค์พระเมื่อรวมฐานแล้ว จะสูงถึง 40 เมตร ในส่วนรูปแบบของฐาน ตลอดจนอาคารต่างๆ จะเน้นสถาปัตยกรรมไทย กลม กลืนธรรมชาติ โดยเน้นทัศนียภาพให้เห็นองค์พระทุกส่วน เบื้องต้นได้ออกแบบไว้ 3 ส่วน ส่วนแรก คือ จุดที่ตั้งองค์พระพุทธรูป ฐาน ประทักษิณ หอประวัติองค์พระ และหอประวัติสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ส่วนที่ 2 จัดเป็นสาธารณประโยชน์ ทั้งที่จอดรถ ร้านค้า และห้องน้ำ ส่วนสุดท้ายจัดทำเป็นสวนป่าพุทธอุทยาน เพื่อใช้ปฏิบัติธรรม มีอาคารประมาณ 16 หลัง และห้องน้ำ

"เนื่องจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวแห้งแล้งอย่าง มาก จึงเตรียมการสร้างบ่อกักเก็บน้ำ 3 จุด โดยยึดแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ซึ่งประชาชนในพื้นที่ สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเหล่านี้ได้ด้วย ส่วนต้นไม้ที่จะนำ มาปลูกในสวนป่าพุทธอุทยาน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริ ให้นำไม้เล็กมาปลูก เพื่อให้รากแก้วแข็งแรง ไม่ทรงโปรดให้ล้อมไม้ใหญ่มาปลูก เนื่องจากต้องตัดรากแก้ว" พล.อ.ต.อาวุธ กล่าว
เที่ยวเมืองไทยกระจายรายได้สู่ชุมชน