Notice: Undefined index: strFacebookID in /home/touronth/domains/touronthai.com/public_html/gallery/placeview_4.php on line 3

Notice: Undefined index: strFacebookID in /home/touronth/domains/touronthai.com/public_html/gallery/placeview_4.php on line 3
เจ้าอินทวิชยานนท์ ที่มาของชื่อ ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่ ทัวร์ออนไทยดอทคอม

www.touronthai.com

หน้าหลัก >> เชียงใหม่ >> เจ้าอินทวิชยานนท์ ที่มาของชื่อ ดอยอินทนนท์

เจ้าอินทวิชยานนท์ ที่มาของชื่อ ดอยอินทนนท์

ดอยอินทนนท์ แต่ก่อนชื่อดอยอ่างกา แล้วเปลี่ยนมาเป็นดอยอินทนนท์ตอนไหน เรามีคำตอบ

    ดอยอินทนนท์ เดิมชื่อ ดอยหลวง หรือดอยอ่างกา คำว่าดอยหลวง หมายถึงภูเขาสูงใหญ่ส่วน ดอยอ่างกานั้นมีเรื่องเล่ากันว่า ห่างจากยอดดอยอินทนนท์ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 300 เมตร มีหนองน้ำแต่ก่อนนั้นมีนกกาไปเล่นน้ำกันมากมายจึงรวมเรียกว่าดอยอ่างกา ต่อมาในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯ เป็นเจ้าผู้ปกครองนครเชียงใหม่ (ปี พ.ศ.2414 ถึง 2440) พระองค์มีความหวงแหนป่าไม้มาก โดยเฉพาะดอยหลวงแห่งนี้จึงได้รับสั่งไว้ว่า หากพระองค์ถึงแก่พิราลัยแล้วให้นำพระอังคารของพระองค์มาไว้ ณ ยอดดอยหลวงด้วย ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯ ถึงแก่พิราลัยราชธิดาคือเจ้าดารารัศมี (ราชชายาในรัชกาลที่ 5) จึงได้อัญเชิญพระอังคารของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯ มาประดิษฐาน ณ พระสถูปบนยอดดอยหลวง เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของชาวเขาและประชาชนทั่วไป ดอยหลวง หรือ ดอยอ่างกา จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นดอยอินทนนท์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ติดต่อสอบถาม:
ททท.เชียงใหม่ 0 5324 8604, 0 5324 8607, 0 5324 8605
http://www.tourismthailand.org/chiangmai
เจ้าอินทวิชยานนท์ ที่มาของชื่อ ดอยอินทนนท์

 

เจ้าอินทวิชยานนท์ ที่มาของชื่อ ดอยอินทนนท์

 ประวัติเจ้าอินทวิชยานนท์

    ในคราวที่ "เจ้าชีวิตอ้าว" หรือพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ยกขบวนเรือล่องลงไปเข้าเฝ้าเพื่อถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทอง เครื่องราชบรรณาการแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อจุลศักราช ๑๒๓๑ (พ.ศ.๒๔๑๒) พร้อมกับขอรับพระราชทานเจ้านายที่เคยมีคดีเกี่ยวของแต่ก่อนนั้นกลับไปช่วยราชการในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชบรมราชานุญาตและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนเจ้าบุรีรัตน์อินทนนท์ขึ้นเป็นเจ้าอุปราช ครั้งนั้นพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ล้มป่วย แม้จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้หมอหลวงไปพยาบาล แต่อาการก็ไม่ดีขึ้นจึงกราบถวายบังคมลากลับมารักษาตัวที่เชียงใหม่

    ในขณะที่เดินทางเข้าเขตเมืองเชียงใหม่ ถึงบ้านท่าสันพระเนตรซึ่งเหลือระยะทางการเดินทางกลับอีกเพียงวันเดียวก็จะถึงเมืองเชียงใหม่ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ก็ถึงแก่พิลาลัย ในจุลศักราช ๑๒๓๒ (พ.ศ.๒๕๑๓) เดือน ๘ แรม ๒ ค่ำ เวลาสองโมงเช้า เจ้าอุปราชอินทนนท์และเจ้านายญาติพี่น้อง ก็เชิญพระศพเข้าไปในเมืองเชียงใหม่และเจ้าอุปราชอินทนนท์ก็เป็นผู้รักษาการเมืองนครเชียงใหม่

    ต่อมาในจุลศักราช ๑๒๓๕ (พ.ศ.๒๔๑๖) เดือน ๖ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเจ้าอุปราชอินทนนท์เป็น เจ้าอินทรวิไชยานนท์ พหลเทพภักดี ศรีโยนางคราชวงศา มหาประเทศราชาธิบดี นพีสีนคราภิพงศ์ดำรงพิพัฒน์ ชิยางคราชวงศา เจ้านครเชียงใหม่

    พร้อมกันนั้นก็ทรงตั้งน้อยขัตติยวงษ์ ผู้บุตรของเจ้าเชียงใหม่อินทนนท์เป็นเจ้าราชบุตร ตั้งเจ้าอินทรสบุตรเขยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์เป็นเจ้าราชภาคิไนย ตั้งเจ้าธัมมลังกาบุตรนางบัวทิพและเป็นหลานของพระเจ้ามโหตรประเทศฯ เป็นเจ้าราชสัมพันธวงศ์ ตั้งน้อยเทพวงศ์บุตรของพระอุตรการโกศลน้อยมหาพรหมเป็นพระยาอุตรการโกศล และในเดือน ๑๒ ปีเดียวกันนั้น เจ้านครเชียงใหม่ให้เจ้าบุญทวงศ์ซึ่งเป็นว่าที่อุปราชคุมเครื่องราชบรรณาการลงไปทูลเกล้าฯ ถวาย จึงทรงแต่ตั้งเจ้าบุญทวงศ์เป็นเจ้าอุปราชนครเชียงใหม่

    ในครั้งที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯ ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ เหนือจุลศักราช ๑๒๔๘ ตรงกับวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๒๙ นั้น ได้พาพระธิดาชื่อ เจ้าดารารัศมีซึ่งขณะนั้นอายุ ๑๓ ปีลงไปด้วย ซึ่งก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการสมโภชเป็นการรับรองเจ้าดารารัศมีด้วย และเจ้าดารารัศมีก็เข้ารับราชการฝ่ายใน เป็นเจ้าจอมตั้งแต่บัดนั้น ก่อนที่เจ้าดารารัศมีจะกลับมาเยี่ยมเชียงใหม่เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๑ ก็ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น "พระราชชายา" อันเป็นตำแหน่ง (จัดตั้งขึ้นเฉพาะเจ้าดารารัศมีเท่านั้น)

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com